Cook With Heart, Feed With Love™

ขนร่วง หรือ ผลัดขน เหมียวของคุณเป็นอะไรกันแน่?

ขนร่วง อีกหนึ่งปัญหาที่คนเลี้ยงแมวหนีไม่พ้น ซึ่งหลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นธรรมดาของสัตว์มีขนที่ต้องผลัดขน แต่ที่จริงแล้วปัญหาขนร่วงต่างจากการผลัดขนโดยธรรมชาติ และเป็นหนึ่งสิ่งบ่งชี้ว่าแมวของคุณอาจกำลังเผชิญกับปัญหาผิวหนังอยู่ แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่า แมวผลัดขนหรือขนร่วงกันแน่ ?

 

แมว

ขนร่วง หรือ ผลัดขน เจ้าเหมียวเป็นอะไรกันแน่ ?

ผลัดขน เป็นการเปลี่ยนแปลงตามการเจริญเติบโตของเส้นขนโดยธรรมชาติ ที่ต้องผลัดขนเก่าเพื่อระบายความร้อนออกจากผิวหนัง และผลัดเซล์ผิวหนังที่ตายแล้วออกไป เพื่อทดแทนด้วยขนเส้นใหม่ ส่วนใหญ่การผลัดขนจะเร่มขึ้นเมื่อหมดฤดูหนาว โดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้น ขนเก่าที่ผลัดออกจะร่วงทั้งตัว โดยไม่ร่วงจนแหว่งเป็นวง แต่ถ้าหากแมวของคุณมีขนร่วงในลักษณะเช่นนี้ นี่อาจจะไม่ใช่การผลัดขนตามปกติ เพราะน้องอาจประสบกับปัญหาผิวหนังบางอย่างอยู่ ซึ่งวิธีสังเกตง่าย ๆ มีดังนี้

  • ขนร่วงไปโดยไม่มีขนใหม่ขึ้นแทนที่ ต่างจากการผลัดขน แม้จะร่วงเยอะ แต่จะมีขนใหม่ขึ้นมาแทนอยู่ตลอด
  • ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ หรือเป็นกระจุก จนบางบริเวณไม่เหลือขนเลย ต่างจากการผลัดขนที่จะร่วงทั่วร่างกาย
  • แมวอาจมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการคัน ตุ่ม ผื่นแดง แผลถลอกจากการเกา เป็นต้น

แมว

 

ปัญหาขนร่วงนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ 

  • ขนร่วงจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น เชื้อรา เชื้อยีสต์ เชื้อแบคทีเรีย หมัด ไร พยาธิ เป็นต้น มักจะแสดงอาการผื่นแดง ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ หรือผิวหนังส่งกลิ่นเหม็น
  • อาการแพ้ทำให้ขนร่วง อย่างการแพ้อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ทาบนผิวหรือแชมพู หญ้า พื้นที่ที่มีสารเคมีปนเปื้อน เป็นต้น
  • แมวขนร่วงเพราะอายุมาก แมวแก่ขนจะแห้ง ไม่สามารถเลียทำความสะอาดขนตัวเองได้ดี ขนจึงร่วงหลุดเยอะขึ้นกว่าปกติ
  • เครียดจนขนร่วง แมวบางตัวมีภาวะความเครียดหรือความกลัวอย่างรุนแรง ทำให้ขนร่วงมากกว่าปกติ
  • เลียขนมากเกินไปจนขนร่วง แม้จะเป็นวิธีการทำความสะอาดขนของเจ้าเหมียว แต่ถ้าเลียในจุดเดิมซ้ำ ๆ มากจนเกินไป ลิ้นหยาบ ๆ ของแมวจะทำให้ขนบริเวณนั้นร่วงจนหมด และทำให้ขนสุขภาพไม่ดีด้วย
  • ขนร่วงเพราะขาดสารอาหาร ขนและผิวหนังของแมวต้องการโปรตีนจำนวนมากเพื่อการเจริญเติบโต และการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังต้องการวิตามินเอ และวิตามินอี เพื่อเสริมสร้างสุขภาพขนที่ดี และป้องกันขนร่วง เมื่อไม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้ เส้นขนของแมวจะบางลง และหลุดร่วงง่ายกว่าปกติ

 

เห็นแบบนี้ ทาสแมวหลายคนอาจตกใจ ว่าจะทำอย่างไรหากเจ้าเหมียวของคุณมีปัญหาขนร่วง ไม่ต้องตกใจไปเพราะปัญหานี้มีวิธีรักษาและป้องกัน

  • อันดับแรก พาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กให้รู้ชัดเจนกันไปเลยว่า ขนร่วงจากสาเหตุใด จะได้รักษาได้อย่างถูกวิธี 
  • ป้องกันการติดปรสิต ด้วยการควบคุมสภาพแวดล้อมที่แมวอาศัยอยู่ให้ได้มากที่สุด และปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อวางโปรแกรมควบคุมปรสิตอย่างสม่ำเสมอ
  • หมั่นแปรงขน เพื่อกำจัดเศษขนส่วนเกิน และป้องกันขนพันกันในกรณีแมวขนยาว โดยแปรงอย่างช้า ๆ เบามือ ในระยะเวลาสั้น ๆ 
  • เสริมความแข็งแรงให้เส้นขน ด้วยผลิตภัณฑ์บำรุงขน โดยในกรณีนี้ ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อเลือกชนิดของผลิตภัณฑ์จะดีที่สุด

 

        และท้ายที่สุด ความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขนร่วงจะลดลง หากแมวได้รับสารอาหารที่เหมาะสม การเลือกอาหารแมวที่มีสารอาหารครบถ้วน ทั้งเรื่องการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง สุขภาพขนและผิวหนังที่ดี จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ อย่าง Buzz Advanced Nutrition – Hair & Skin สูตรสำหรับบำรุงเส้นขน เเละ ผิวหนัง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันที่เหมาะสม โอเมก้า 3 และ 6 พร้อมเพิ่มคอลลาเจน เพื่อบำรุงผิวหนังและเส้นขน อีกทั้งยังมีเส้นใยเซลลูโลสพลัสช่วยให้ขนผ่านทางเดินอาหารได้ดี จบครบตามที่เจ้าเหมียวต้องการ ตอบโจทย์มาก ๆ สำหรับทาสแมวที่ต้องการดูแลสุขภาพแมวเหมียวที่คุณรัก 

 

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกเมื่อ แมว มีพยาธิ

เคยสงสัยไหมว่า แมวมีพยาธิ ได้อย่างไร ? พยาธิเป็นปรสิตที่รบกวนลำไส้ของแมว และก่อให้เกิดอาการผิดปกติมากมาย ซึ่งการติดพยาธิ อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยลูกแมวอาจติดพยาธิมาจากแม่ที่มีพยาธิ ผ่านการให้นม แมวบางตัวก็ติดมาจากการสัมผัสกับไข่หรืออุจจาระของแมวที่มีพยาธิ หรือบางตัวมีพยาธิเพราะชอบเที่ยวเล่นนอกบ้าน และกินของสด จำพวกหนู นก จิ้งจก ฯลฯ ซึ่งสัตว์เหล่านี้มักมีไข่และตัวอ่อนของพยาธิอาศัยอยู่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีปรสิตอย่างพยาธิเข้ามาอาศัยอยู่ในท้องเจ้าเหมียวของคุณ โดยทั่วไป พยาธิในแมวจะพบได้อยู่ 3 ประเภท คือ

น้องแมว

แมวมีพยาธิ อะไรบ้าง ?

  1. แมวมีพยาธิตัวตืด 

มีลักษณะคล้ายเม็ดข้าว จะเกาะอยู่ที่ผนังลำไส้ เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเสีย รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับผิวหนังและขน

      2. แมวมีพยาธิตัวกลม

หน้าตาคล้ายเส้นก๋วยเตี๋ยว มักติดมาจากนมแม่แมว หรือติดจากการคลุกคลีกับแมวและหนูที่มีพยาธิ เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการท้องเสีย และอาเจียน

     3. แมวมีพยาธิปากขอ

พยาธิตัวเล็ก มีปากคล้ายตะขอ เกาะอยู่ตามผนังลำไส้ มักจะติดมาจากนมของแม่แมว เป็นต้นเหตุให้แมวมีภาวะเลือดจาง

น้องแมว

           เมื่อคุณเริ่มสังสัยว่า เจ้าเหมียวของคุณอาจจะมีพยาธิมาอาศัยอยู่ในท้อง สัญญาณที่จะช่วยบ่งบอกได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีดังนี้

อาการที่บอกว่า แมวมีพยาธิ 

  • ท้องเสีย และอาจมีเลือดปนมากับอุจจาระ
  • น้ำหนักลด ทั้งที่แมวกินได้เป็นปกติ
  • ผอมแต่พุงโล
  • อาเจียน
  • เซื่องซึม
  • ขนร่วง และหยาบแห้ง
  • ตาแฉะ มีขี้ตาเยอะจนผิดปกติ
  • เหงือกซีด เพราะภาวะเลือดจาง
  • แมวมีพยาธิอาจมีพยาธิติดอยู่บริเวณทวารหนัก และอุจจาระที่ถ่ายออกมา

แมว

                 หากพบว่าเจ้าเหมียวตัวน้อยของคุณมีอาการเหล่านี้ ก็มีความเสี่ยงที่แมวจะมีพยาธิ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจเช็กอาการ และเข้ารับการถ่ายพยาธิเป็นประจำ นอกจากวิธีนี้แล้ว ตัวเจ้าของอย่างเราเองก็ต้องช่วยปกป้องเจ้าเหมียวจากการติดพยาธิด้วยอีกแรง โดยการควบคุมสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย จำกัดบริเวณในกรณีที่แมวของคุณชอบเที่ยวนอกบ้าน พยายามคอยสังเกตอย่าให้น้องกินของสด และจะต้องเลือกอาหารแมวคุณภาพ ที่มีส่วนผสมที่เป็นประโยชน์อย่าง Buzz ซึ่งมีหลากหลายสูตรให้เลือกตามความต้องการที่แตกต่าง เพื่อให้เจ้าเหมียวปราศจากพยาธิและมาพร้อมสุขภาพที่แข็งแรง 

 

น้องแมว เครียดอยู่หรือเปล่า?

น้องแมวเครียด อยู่หรือเปล่า? บางทีอาการแปลก ๆ ที่แมวแสดงออกมาให้คุณได้เห็นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณหรือนิสัยส่วนตัวของสัตว์เลี้ยง แต่มันคือสัญญาณที่พวกเขากำลังแสดงออกให้คุณทราบว่ากำลังมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นอยู่ก็ได้ ซึ่งความเครียด อาการวิตกกังวลต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้กับแมว สุนัข หรือสัตว์ตัวอื่น ๆ ได้ทั้งนั้นไม่ต่างจากคนเลย แต่แมวเครียดจะเกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง น้องจะเริ่มมีพฤติกรรมแปลก ๆ แบบใดให้เราได้สังเกต วันนี้ Buzz Pet อาหารสัตว์เลี้ยงระดับพรีเมียมมีคำตอบมาฝาก 

น้องแมว

สาเหตุที่ทำให้น้องแมวเครียด 

ขึ้นชื่อว่าความเครียดแล้ว ไม่มีทางที่สิ่งนี้จะส่งผลดีกับใครทั้งนั้นไม่ว่าจะกับคนหรือสัตว์ก็ตาม โอกาสที่จะทำให้แมวเครียดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หลายสถาานการณ์ขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว บางตัวเจอเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งมาก็ทำให้เกิดความเครียด แต่อีกตัวนึงเจอเหตุการณ์เดียวกันกลับไม่เป็น จุดนี้มีความคล้ายคลึงกับคน ซึ่งในแต่ละคนมีความอดทน มีภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน สาเหตุที่ทำให้แมวเครียดที่พบเจอกันบ่อย ๆ มีดังนี้ 

  • ความซ้ำซากจำเจ ที่อาจทำให้แมวเบื่อจนเกิดความเครียด 
  • กังวลเรื่องอาณาเขต ความปลอดภัยของตัวเองจากแมวตัวอื่น หรือสัตว์ประเภทอื่น 
  • ตกใจกลัวเสียงดัง เช่น เสียงจากฟ้าผ่า เสียงพลุ เสียงปืน เสียงเพลงดัง (ส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับแมวบางตัวเท่านั้น บางตัวก็ไม่ได้กลัว) 
  • ถูกปล่อยให้อยู่ในบ้านเพียงลำพัง ไม่มีคน หรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ที่คุ้นเคยอยู่ด้วย 
  • อยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ต้องย้ายที่ หรือมีการเดินทาง
  • สารอาหาร ปริมาณ และน้ำดื่มไม่เพียงพอต่อร่างกาย และความหิว
  • มีสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ สมาชิกตัวใหม่เข้ามาในบ้าน 

น้องแมว

สังเกตอาการด่วน น้องแมวอาจกำลังเครียดอยู่

หลังจากที่ทราบสาเหตุเบื้องต้นของความเครียดที่เกิดขึ้นกับน้องแมวแล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องมาลองสังเกตสัตว์เลี้ยงข้าง ๆ ตัวคุณบ้าง ว่าแมวเหมียวมีพฤติกรรมแปลก ๆ  ที่จะเป็นสัญญาณเตือนให้เราได้ ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่น้องแมวแสดงออกมาจะมีทั้งเรื่องที่เรามองว่าปกติแต่สำหรับเขาไม่ปกติ หรือเป็นพฤติกรรมใหม่ที่น้องแมวไม่เคยทำที่ไหนมาก่อน รวมรวบที่เจอได้บ่อยมาแล้ว ดังนี้ 

  • เริ่มขับถ่ายไม่เป็นที่ ไม่ใช้กระบะทราย
  • เลียขน ทำความสะอาดขนตัวเองมากผิดปกติ (มีโอกาสที่จะขนหลุดร่วง และเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบได้ในภายหลัง)
  • ร้องเสียงดัง หรือเงียบแยกตัวออกจากโลกภายนอกจนผิดสังเกต 
  • แสดงความดุร้ายใส่ทั้งคน และสัตว์ตัวอื่น 
  • เคี้ยวปากจนน้ำลายยืด 
  • เริ่มทำลายข้าวของ เฟอร์นิเจอร์ หมอน เตียง สิ่งใกล้ตัว (ส่วนนี้ขึ้นอยู่กับวัย พันธุ์ ลักษณะนิสัยด้วย)
  • กินอาหารน้อยลง 
  • นอนเยอะมากขึ้น 

หากปล่อยทิ้งไว้ ความเครียดเหล่านี้จะสะสมไปเรื่อย ๆ ส่งผลต่อสุขภาพจิตและอาจจะลามไปถึงระบบร่างกายต่าง ๆ ทำให้น้องแมวมีโอกาสป่วยง่ายมากขึ้น สุขภาพผิวหนังไม่ดี ขนร่วง เป็นภูมิแพ้ หรือร้ายแรงกว่านั้น ความเครียดอาจจะกลายเป็นสาเหตุสำคัญของโรคร้ายที่ตามมาในอนาคตก็ได้ 

หากคุณทราบว่าอะไร สถานการณ์แบบไหนเป็นแรงกระตุ้นที่ส่งผลทำให้น้องแมวเครียดแล้ว การหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำรอย เพิ่มความเครียดสะสมให้กับแมวเหมียวถือเป็นเรื่องที่เจ้าของอย่างเราควรทำมากที่สุด นอกจากนี้ การดูแลอาหารให้ครบถ้วนทั้งปริมาณและตามหลักโภชนาการ พร้อม ๆ กับการให้ความรัก ความเอาใจใส่กับสัตว์เลี้ยงถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้เขากลับมามีสุขภาพดี แข็งแรง จิตใจแจ่มใสได้มากกว่าครั้งไหน ๆ

เลี้ยงแมว ระบบปิด หรือระบบเปิด แบบไหนดีกว่ากัน ?

เลี้ยงแมวระบบปิด หรือระบบเปิด คงเป็นสิ่งที่ทาสแมวมือใหม่ลังเลใจกันอยู่ไม่ใช่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ เพราะเจ้าแมวมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน บางพันธุ์ก็ดูแลง่าย บางสายพันธุ์ก็ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้นก่อนที่จะทำการเลือกแมวมาเลี้ยงควรทำการศึกษาวิธีการเลี้ยงให้ดีเสียก่อน แล้วจะเลี้ยงแมวระบบปิด หรือระบบเปิดดีนะ มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ

น้องแมว

 

การเลี้ยงแมวระบบปิด หรือจะเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การเลี้ยงแมวในบ้าน โดยไม่ปล่อยแมวให้ออกไปเที่ยวเดินเล่นข้างนอกบ้านเอง แต่แน่นอนว่าทาสแมวหลาย ๆ คนจากที่เคยอยู่บ้านก็เปลี่ยนมาอยู่คอนโดมิเนียมกันมากขึ้น คอนโดมิเนียมหลายแห่งในปัจจุบันจึงอนุญาตให้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทาสแมวจะหาซื้อของเล่นต่าง ๆ มาให้เล่น ให้ออกกำลังกายแทนเนื่องจากไม่สะดวกพาน้องออกไปข้างนอก และคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีพื้นที่ที่ออกแบบเพื่อน้องแมวโดยเฉพาะ นอกจากจะเป็นคอนโดมิเนียมระดับกลางขึ้นไป

ส่วนการเลี้ยงแมวระบบเปิด คือ การเปิดอิสระเสรีให้แมวสามารถเดินออกไปไหนได้ตามสบาย จะเห็นได้จากเจ้าของที่อาศัยอยู่ที่บ้าน ซึ่งมีลักษณะเป็นชุมชน หรือเป็นบ้านโครงการเป็นส่วนใหญ่ ที่เลี้ยงแมวไว้ น้องแมวก็มักจะแอบออกมาเดินเล่นไปมา หรืออยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ พากันซนก็มี 

 

น้องแมว

ผลของการเลือกเลี้ยงแมวระบบปิด 

  1. น้องแมวปลอดภัย ไม่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุหรือการถูกทารุณกรรม
  2. น้องแมวไม่ติดโรค หรือมีความเสี่ยงที่จะป่วยต่ำ เช่น เอดส์ ลิวคีเมีย ไข้หัด 
  3. ไม่ก่อความรำคาญหรือลำบากใจกับเพื่อนบ้านและกลุ่มคนที่ไม่ได้รักแมว
  4. น้องแมวไม่สูญหายหรือไม่กลับมา
  5. น้องแมวอายุยืน เพราะเราสามารถสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า

ผลของการเลือกเลี้ยงแมวระบบเปิด

  1. น้องแมวได้ออกกำลังกายเต็มที่
  2. ลดการเกิดโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน
  3. น้องแมวมีเพื่อนเล่น ในช่วงเวลาที่เราไม่อยู่
  4. เสี่ยงอุบัติเหตุตกจากที่สูง (กรณีเจ้าของอาศัยอยู่คอนโด)
  5. น้องแมวเสี่ยงเป็นแมวจร เพราะหาทางกลับบ้านไม่เจอ

 

ดังนั้นก่อนที่จะทำการเลี้ยงแมวควรดูด้วยว่าตนเองมีความพร้อมในการเลี้ยงแมวในระบบไหน เพราะการเลี้ยงของทั้งสองระบบนี้จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ที่สำคัญเลยการที่จะเลี้ยงน้องแมวหรือเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ ควรมีเวลาที่จะเล่นและเอาใจใส่ให้มาก เพราะเขาสามารถสัมผัสถึงความรักและความเอาใจใส่ของผู้เลี้ยงได้

สุนัขแก่ ควรดูแลอย่างไร?

สุนัขแก่ ต้องดูแลอย่างไรดี? แน่นอนว่าถ้าน้องหมาอยู่กับเรา ใช้ชีวิตกับเราจนแก่ได้ขนาดนี้ ความรัก ความผูกพันย่อมต้องมีมากขึ้นทุกวันจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวไปแล้วอย่างแน่นอน แต่ร่างกายของสุนัขก็เหมือนมนุษย์เรานั่นแหละ พออายุเยอะขึ้น สังขารก็ต้องมีโรยราตามกาลเวลาเป็นเรื่องธรรมดา ความแข็งแรงมีไม่เหมือนเดิม ต้องระมัดระวังหลาย ๆ อย่างมากขึ้น ตั้งแต่อาหารการกิน การใช้ชีวิต ซึ่งไม่ต่างจากการดูแลผู้สูงอายุเลย จึงเป็นหน้าที่ของผู้เลี้ยงเองที่ต้องใส่ใจดูแลในเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่จะต้องดูแลอย่างไร? มีความแตกต่างจากการดูแลน้องหมาวัยหนุ่มสาวอย่างไร อาหารสุนัข BUZZ PETS มีเคล็ดลับการดูแลมาฝาก 

 

สุนัขเริ่มแก่แล้ว สังเกตอย่างไร? 

อยู่ด้วยกันทุกวัน บางทีคุณอาจจะไม่ได้สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของสุนัขเท่าไรนัก ตามปกติแล้วสุนัขจะเริ่มแก่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 8 ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของน้องหมาแต่ละพันธุ์

  • สุนัขพันธุ์เล็ก จะเริ่มแก่เมื่ออายุเข้าปีที่  8 และอายุยืนถึง 14 -15 ปี
  • สุนัขพันธุ์กลาง จะเริ่มแก่เมื่ออายุ 6 – 7 ปี และอายุยืนถึงประมาณ 12 ปี 
  • สุนัขพันธุ์ใหญ่ จะเริ่มแก่เมื่ออายุ 5 – 6 ปี และอายุยืนได้ถึง 10 ปี

 

แต่นอกจากเรื่องของอายุแล้ว คุณยังสามารถสังเกตได้ลักษณะทางร่างกาย นิสัย ความขี้เล่นที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุขัย เช่น สีขน หากเป็นสุนัขที่มีหลายสี สีส่วนที่เข้มสุดจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีอ่อนลงก่อนโดยเฉพาะขนบริเวณปาก ใบหน้า จะเปลี่ยนชัดเจนมาก น้องหมาเริ่มเคลื่อนไหวช้าลง ไม่คล่องตัวเหมือนแต่ก่อน มีอาการเหนื่อยง่ายเพิ่มเติม นอนบ่อยมากขึ้น บางตัวอาจมีอาการตาฝาง ผิวหนังเริ่มมีกระเนื้อเพิ่มขึ้น 

เมื่อความคล่องตัวไม่เหมือนเดิม ระบบภายในร่างกายเริ่มลดประสิทธิภาพในการทำงานลง ความขี้เล่น ความบ้าพลังเริ่มลดลงโรยราไปตามอายุ การดูแลน้องหมาก็ต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม ซัพพอร์ตกับร่างกายที่เปลี่ยนไปของสัตว์เลี้ยงตัวโปรดของคุณ เพื่อให้น้องหมาอยู่กับเราอย่างแข็งแรงไปได้อีกยาว ๆ

 

สุนัข

 

“อาหาร” สิ่งสำคัญที่ต้องเปลี่ยนแปลง 

น้องหมาก็เหมือนกับเรา ที่พอแก่ตัวลงท้องไส้ก็เริ่มไม่คอยดี ย่อยอาหารยาก ท้องอืดบ่อย อึถ่ายไม่สะดวก แนะนำให้ลองเปลี่ยนมาให้น้องหมากินอาหารสุนัขที่มีโปรตีนในปริมาณที่พอดีเพื่อลดการทำงานของไต มีไขมันน้อยเพื่อให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวันเท่านั้น และมีส่วนประกอบของไฟเบอร์สูง เพื่อให้น้องหมาย่อยอาหาร และขับถ่ายได้อย่างปกติ คุณอาจจะต้องดูให้ลึกไปถึงส่วนประกอบที่ใช้ผลิตอาหารเลย แนะนำให้เลือกอาหารสุนัขที่ใช้เนื้อแกะเป็นหลัก เพราะเนื้อแกะถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สัตว์เลี้ยงมีโอกาสแพ้น้อยมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายมากกว่าเนื้อแดงประเภทอื่น ๆ เปลี่ยนเวลาและปริมาณอาหารที่ให้เป็นประจำ จากปกติที่ให้น้องหมากิน 1 มื้อในปริมาณเยอะ ๆ ทีเดียวจบ คุณอาจต้องเปลี่ยนแบ่งเป็น 2 มื้อ แล้วลดปริมาณในแต่ละมื้อแทน นอกจากนี้ควรมีน้ำดื่มวางไว้ให้น้องหมาตลอดเวลาด้วย

สุนัข

การดูแลเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สำคัญ 

นอกจากเรื่องอาหารแล้ว การดูแลน้องหมาในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สำคัญมาก และทำให้เขาได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ดังนี้

สถานที่นอน : ควรรองที่นอนของน้องหมาให้นุ่มสบายมากขึ้น เพื่อลดแรงเสียดทานที่จะเกิดขึ้นกับข้อต่อต่าง ๆ หรืออาการปวดเนื้อปวดตัวของสุนัขเมื่อเริ่มแก่ตัวลง  

การขับถ่าย : พอเริ่มแก่อีกหนึ่งปัญหาที่ต้องเจอคือเรื่องอั้นฉี่ ควรพาน้องหมาไปขับถ่ายให้บ่อยขึ้น หรือทำมุมปลดทุกข์ให้สุนัขไปเลย 

การออกกำลังกาย : ความบ้าพลังอาจจะหดหายไปบ้าง แต่ไม่ใช่ว่าจะปล่อยให้สุนัขนั่งซึมไม่พาไป Relax หรือออกกำลังกายเลย สิ่งนี้ยังสำคัญกับสุนัขอยู่ แต่แค่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับร่างกาย ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่ส่งผลเสียต่อข้อต่อ กระดูก หรือใช้พลังงานเยอะ หักโหมจนเกินไป 

การทำความสะอาด : สุขลักษณะของสุนัขยังคงเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าน้องหมาจะอยู่ในวัยไหน ยิ่งกับสุนัขแก่ที่ร่างกายเคลื่อนไหวลำบาก เริ่มทำความสะอาดขนตัวเองไม่ได้ มีปัญหาช่องปากที่เริ่มกินอาหารแข็ง ๆ ไม่ได้ เริ่มมีหินปูนเกาะซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดเหงือกอักเสบแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามส่งผลต่อน้องหมาในอนาคต (อีกไม่ไกล) การใส่ใจในเรื่องนี้จะช่วยน้องหมาได้เยอะ 

เพราะน้องหมาบางตัวเป็นมากกว่าเพื่อนต่างพันธุ์ แต่เขาเป็นเหมือนส่วนหนึ่งในครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรัก ความผูกพัน การดูแลเขาให้ดีที่สุดในวันที่เขาแก่ตัวลงจึงเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงอย่างเรา ๆ ควรให้ความสำคัญ เพื่อให้เขาสุขภาพแข็งแรง มีความสุขสนุกสนานกับเราไปได้เรื่อย ๆ

ไขข้อข้องใจ สุนัขกินอาหารคน ได้หรือไม่?

สุนัขกิน อาหารคน ได้หรือไม่? คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตที่พูดคุยกันมานานในกลุ่มคนรักสุนัขเลยก็ว่าได้ เพราะอาหารถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงในระยะยาว จึงทำเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับอาหารของน้องหมา บ้างก็บอกว่าควรให้กินเฉพาะอาหารสุนัขเท่านั้น บ้างก็เลือกที่จะสลับระหว่างอาหารคนและอาหารสุนัข เพื่อลดอาการเบื่ออาหารหากกินแต่อาหารเม็ดเป็นเวลานาน บ้างก็เลือกที่จะปรุงอาหารให้สุนัขเองทั้งหมด ซึ่งข้อเท็จจริงใดคือเรื่องถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อสุนัขตัวโปรดของเรามากที่สุด วันนี้ BUZZ PETS FOOD มีข้อมูลมาฝาก

 

อาหารคน สุนัขกินได้แต่ต้องผ่านความใส่ใจ 

อาหารคน สุนัขสามารถกินได้ แต่ทุกอย่างต้องผ่านการใส่ใจสูง เพราะระบบภายในร่างกายของสุนัข (รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงประเภทอื่น ๆ) มีความซับซ้อนและแตกต่างจากมนุษย์มาก อาหารบางอย่างที่เราคิดว่าดี รสชาติอร่อย หรือมีประโยชน์กับเรามาก ๆ อาจจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อสุนัขเลยก็ได้ เช่น ตับย่าง ไก่ย่างหมักเค็มนำ อร่อยทั้งคนทั้งน้องหมา แต่ใครจะไปรู้ว่าอาหารปรุงรสโดยเฉพาะรสเค็มจะทำให้สุนัขกลายเป็นโรคไตวายในอนาคต ดังนั้นการใส่ใจก่อนคิดจะยื่นอะไรให้สุนัขตัวโปรดกินทุกครั้งจึงสำคัญ ไม่ใช่ว่าเห็นน้องหมาทำหน้าตาน่าสงสาร นั่งน้ำลายไหลมองเข้าหน่อยก็ใจอ่อนไปซะหมดนะ

 

สุนัข

 

อาหารที่จะให้สุนัขในแต่ละมื้อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “โภชนาการ” ของอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน ทุกอย่างต้องครบถ้วน และเพียงพอต่อร่างกาย ปริมาณอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสัมพันธ์กับน้ำหนักตัว พันธุ์ อายุ การใช้พลังงานในแต่ละวันของสุนัข และเพราะความยากทั้งในเรื่องวัตถุดิบของอาหารที่บางชนิดสุนัขไม่สามารถกินได้ ขั้นตอนการปรุงอาหารที่ต้องคลีนมาก ไม่ควรแต่งรสชาติจนเหมือนอาหารคนที่เรารับประทานกันแบบปกติทั่วไป บวกกับการคำนวณโภชนาการต่าง ๆ อย่างเหมาะสมเนี่ยแหละ จึงทำให้เจ้าของน้องหมาหลาย ๆ คนถอดใจ เพราะหากโภชนาการที่เราให้น้องหมาน้อยหรือมากเกินไป ทุกอย่างนี้จะแลกมากับสุขภาพทั้งในระยะสั้น และระยะยาวของสุนัขเอง

 

สุนัข

 

เลือกอาหารสุนัขดีกว่าอย่างไร? 

เพราะความยาก ความละเอียดของกระบวนการต่าง ๆ ในการปรุงอาหารให้สุนัข แถมหากคุณไม่ได้มีความรู้ด้านนี้โดยตรงมาก่อน ลองทำแล้วก็ไม่รู้ว่าจะส่งผลดี หรือผลเสียต่อสุขภาพสุนัขของคุณกันแน่ จึงทำให้ “อาหารสุนัข” กลายมาเป็นทางเลือกสำคัญของคนรักสุนัขที่ต้องการดูแลเรื่องอาหารของน้องหมาให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ส่งเสริมให้เขามีสุขภาพดีในทุกด้านมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

ซึ่ง อาหารสุนัข ก็มาจากวัตถุดิบอาหารธรรมดาทั่วไปเนี่ยแหละ แต่จะผ่านการคำนวณปริมาณ ดูแลเรื่องประโยชน์ด้านโภชนาการต่าง ๆ ที่สุนัขจะได้รับอย่างเหมาะสม นำมาเข้ากระบวนการแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบของอาหารเม็ดทำให้ง่าย และประหยัดเวลากับเรามากขึ้น 

แต่เพราะสุนัขแต่ละตัวมีปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างกัน ทั้งพันธุ์ อายุ ขนาดตัว พลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน จุดนี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้เลี้ยงเอง ที่จะต้องเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับน้องหมาของคุณ เลือก BUZZ PETS FOOD อาหารสุนัขเกรดพรีเมียมที่เลือกใช้เฉพาะวัตถุดิบที่ดีที่สุด ครบถ้วน ถูกต้องตามหลักโภชนาการที่สัตว์เลี้ยงของคุณควรจะได้รับ เพื่อให้สุนัขตัวโปรดของคุณแข็งแรง สุขภาพดี พร้อมเล่นสนุกอยู่กับเราไปได้อีกยาว ๆ 

 

BUZZ PETS มีผลิตภัณฑ์หลายสูตรเพื่อให้คุณได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมมากที่สุดกับสัตว์เลี้ยงของคุณ มีตั้งแต่สูตรตามมาตรฐาน ไปจนถึงสูตรที่มีความเฉพาะเป็นพิเศษ เช่น สูตรสำหรับสุนัขที่มีปัญหาเรื่องไขข้อ สูตรสำหรับลูกสุนัข หรือสูตรสำหรับสุนัขแพ้ง่าย เป็นต้น

วิธีดูแล น้องหมา ช่วงฮีตหรือติดสัด

น้องหมาช่วงฮีต หรือ ติดสัด เป็นสัญญาณธรรมชาติที่บ่งบอกได้ว่าพร้อมแล้วที่จะผสมพันธุ์แล้ว ขณะเดียวกันก็อาจจะเป็นช่วงที่มือใหม่หลาย ๆ คนกังวลและสับสนว่าควรจะรับมืออย่างไรดีกับการติดสัดของน้อง เนื่องจากนอกจากจะมีอาการติดสัดแล้วก็ยังร้องเสียงดังหลายครั้งจนทำให้เรายิ่งกังวลมากขึ้นไปอีก วันนี้ Buzz Pets Food จึงมีวิธีดูแลน้องหมาช่วงฮีตหรือติดสัดมาฝากทุกคน 

 

 

สัญญาณเตือนและวงจรช่วงติดสัด (Estrus Cycle)

สัญญาณแรกที่สังเกตได้คือการบีบรัดของช่องคลอด อวัยวะเพศบวมแดงแต่จะสังเกตได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้สามารถสังเกตได้อีกอย่างคือการมีของเหลวสีแดงไหลจากช่องคลอด ซึ่งคล้ายกับเลือดประจำเดือนในคน การเป็นสัดครั้งแรกจะเริ่มเมื่อสุนัขมีอายุประมาณ 6 – 12 เดือน แล้วแต่สายพันธุ์ โดยสามารถแบ่งวงจรช่วงฮีตหรือติดสัด (in heat) ได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

 

  • ระยะก่อนติดสัด (Proestrus)  ระยะเวลาประมาณ 4 – 20 วัน อวัยวะเพศเริ่มขยายใหญ่ขึ้น มักจะเห็นเลือดหรือเมือกสีแดงสดไหลออกมา คล้ายเลือดประจำเดือนในคน ทำให้หลายคนเข้าใจว่าสุนัขมีประจำเดือน ซึ่งในช่วงนี้สุนัขจะก้มไปเลียอวัยวะเพศตัวเองเพราะรู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังกินน้ำและขับถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้นด้วย

 

  • ระยะติดสัด (Estrus) ระยะเวลาประมาณ 5 – 13 วัน เลือดหรือเมือกสีแดงสดเริ่มจางลงเรื่อย ๆ สุนัขเพศเมียจะเริ่มสนใจสุนัขเพศผู้มากกว่าช่วงระยะก่อนติดสัด สังเกตได้ง่าย ๆ โดยใช้มือกดและแตะที่บริเวณหลังหรือเอวสุนัขแล้วดูว่าสุนัขยืนนิ่งยกหางหรือไม่ หากใช่ แสดงว่าเป็นการยอมรับการผสมพันธุ์นั่นเอง

 

  • ระยะหลังติดสัด (Diestrus) ระยะเวลาประมาณ 60 – 90 วัน อวัยวะเพศจะค่อย ๆ ลดขนาดลงจนกลับมาเท่าขนาดปกติ ไม่พบของเหลวไหลออกมาอีก แต่ถ้าหากน้องหมาผสมพันธุ์ไปแล้วในระยะติดสัด ก็จะตั้งท้องและคลอดลูกภายในระยะนี้

 

  • ระยะพัก (Anestrus)  ระยะเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน เป็นระยะพักและซ่อมแซมมดลูกหรือเรียกได้ว่าเป็นระยะที่มดลูกเข้าอู่ในสุนัขที่เพิ่งออกลูก โดยเมื่อสิ้นสุดระยะนี้แล้วจะเข้าสู่วงรอบการติดสัดครั้งต่อไป

 

โดยเฉลี่ยส่วนมากแล้วสุนัขจะติดสัดประมาณ 2 รอบต่อปี หรือทุก ๆ 6 เดือน สำหรับสุนัขพันธ์ุเล็กอาจติดสัดได้มากถึง 3 รอบต่อปี ในขณะที่สุนัขพันธุ์ใหญ่จะมีอาการติดสัดเพียง 2 รอบต่อปี ซึ่งถ้าน้องหมาเพิ่งมีอาการติดสัดในช่วงแรกก็ไม่ต้องตกใจไปที่วงจรการติดสัดอาจมีอะไรผิดสังเกตไปบ้าง เพราะโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี ที่วงจรการติดสัดของน้องหมาถึงจะพัฒนาให้เป็นปกติ

 

 

น้องหมา

 

วิธีการดูแลน้องหมาช่วงติดสัด

  1. หากเราไม่ต้องการให้น้องหมาตั้งท้อง ควรกักบริเวณในช่วงระยะติดสัด แต่ถ้าอยากให้มีลูกช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เหมาะที่สุด เพราะสุนัขจะยอมรับการผสมพันธุ์และเป็นช่วงที่ไข่ตก จึงมีโอกาสตั้งท้องสูงมาก
  2. หมั่นดูแลเรื่องการเปลี่ยนถ่ายน้ำให้น้องหมาบ่อยครั้งขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่กินน้ำเยอะกว่าช่วงอื่น ๆ 
  3. ใส่ผ้าอ้อมหรือแพมเพิร์สให้น้องหมา เพื่อลดความยุ่งยากในการทำความสะอาด เพิ่มเวลาสังเกตและใส่ใจกับน้องหมามากขึ้นแทน
  4. สุนัขมักจะมีอาการกระสับกระส่ายมากขึ้นในช่วงติดสัด ดังนั้นจึงควรเล่นด้วยบ่อย ๆ และให้ความรักมากขึ้นเป็นพิเศษ
  5. ปล่อยให้น้องหมาได้ผ่อนคลายบ้าง เพราะในช่วงนี้จะมีอาการหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย โดยอาจจะพาไปวิ่งเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ

 

จะเห็นได้ว่าการสังเกตน้องหมาช่วงฮีตและติดสัด รวมถึงวิธีการดูแลน้องหมาในช่วงนี้ไม่ยากและไม่น่ากังวลอย่างที่คิดเลย ลองนำไปปรับใช้กันนะคะ แล้วคราวหน้าจะมีวิธีการดูแลน้องหมาอะไรอีก อย่าลืมติดตามกันนะคะ

 

ขี้เรื้อนแห้ง กับขี้เรื้อนเปียก ต่างกันอย่างไร

ขี้เรื้อน อีกหนึ่งโรคผิวหนังที่พรากความสวยงามและความมีชีวิตชีวาไปจากสุนัขของคุณ ที่มีต้นเหตุมาจากการติดปรสิตภายนอกที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ทำให้สุนัขมีอาการคัน ขนร่วง ผิวหนังแดง และเป็นแผลเลือดออกได้ ในปัจจุบัน โรคขี้เรื้อนสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ตามชนิดของไรซึ่งเป็นตัวต้นเหตุ และอาการของโรค ดังนี้ Continue reading “ขี้เรื้อนแห้ง กับขี้เรื้อนเปียก ต่างกันอย่างไร”