Cook With Heart, Feed With Love™

น้องหมาซึม ไม่ดีแน่ มาหาสาเหตุกัน

หมาซึม ไม่เล่น ไม่สนุกสนานเหมือนเก่า ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่คุณต้องหันมาสนใจ เจอแบบนี้ไม่ดีแน่ มาหาสาเหตุกัน

 

น้องหมาซึม เจ้าของอย่างเราย่อมรู้ดีว่าเขามีท่าทีเปลี่ยนไปอย่างไร อาการซึมลงของสุนัข ถือเป็นสัญญาณเตือนว่าน้องหมาของคุณกำลังมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง และการเปลี่ยนแปลงนั้นก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อเขาเสียเท่าไร อาการซึมของสุนัขเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มีโอกาสเป็นไปได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาการที่แสดงจะไม่เฉพาะเจาะจงจนเราจึงไม่สามารถระบุสาเหตุของโรค หรือความผิดปกตินี้ได้อย่างชัดเจน จำเป็นต้องพึ่งการซักประวัติ และตรวจเช็กร่างกายอย่างละเอียดจากสัตวแพทย์เพิ่มเติม 

 

หมาซึม เกิดจากอะไร? 

น้องหมาซึม ไม่กินข้าว ไม่เล่นสนุกเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เจ้าของอย่างเราสามารถสังเกตสุนัขในเบื้องต้นได้จาก 4 สาเหตุที่เจอบ่อย ดังนี้ 

 

หมาซึมจากสภาพร่างกาย : เป็นสาเหตุที่เจอบ่อยที่สุดโดยเฉพาะในสุนัขอายุมาก ร่างกายเริ่มโรยรา ปวดเมื่อยเนื้อตัวตลอด ทำให้อยากนอนอย่างเดียว ไม่อยากเล่น ไม่อยากขยับตัวไปไหน หรือพบเจอบ่อยในน้องหมาที่กำลังมีอาการป่วย ไม่สบายตัว มีไข้ เจ็บปวดตามร่างกาย 

หมาซึม

ภาวะความผูกพันมากเกินไป : น้องหมาบางตัวมีอาการซึมลง เบื่ออาหาร เกิดจากภาวะความผูกพันกับเจ้าของ สมาชิกในฝูง หรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ที่เลี้ยงมาด้วยกันมากเกินไป ทำให้เมื่อต้องแยกจากกัน หรือต้องห่างกันหลายวัน น้องหมาจะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ตั้งแต่กระวนกระวาย ส่งเสียงร้อง เห่า หอน ขับถ่ายไม่เป็นที่ เริ่มวิตกกังวลจนทำลายข้าวของภายในบ้าน ทำท่าขุดดิน เลียตัวเองมากขึ้น ไปจนถึงอาการซึม ไม่ร่าเริง นอนมากขึ้น และไม่กินอาหารจนกว่าจะได้เจอกับเจ้าของ ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้ถือเป็นภาวะวิตกกังวลจากการถูกแยก (Separation Anxiety) เป็นภาวะที่เราสามารถฝึกให้เขาเรียนรู้ที่จะอยู่ลำพังได้ เพื่อป้องกันภาวะวิตกกังกลจากการถูกแยกซ้ำสอง  

 

จากอุปนิสัยส่วนตัว : สุนัขบางตัวมีอุปนิสัยเฉพาะตัวจริง ๆ ไม่ขี้เล่น ชอบนอน หรือน้องหมาบางตัวเคยเจอเหตุการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก ทำให้กลายเป็นสุนัขขี้กลัว ขี้ระแวง เพราะไม่ไว้ใจใคร ไม่กล้าเข้าใกล้คน หรือแม้กระทั่งสุนัขที่เคยถูกทิ้งมา จะมีอาการซึม เบื่ออาหาร ไม่กินข้าว จำเป็นต้องใช้ความรัก ความเอาใจใส่จากเจ้าของใหม่เข้าดูแล 

 

สภาพแวดล้อมเปลี่ยน : บางทีการย้ายบ้าน ย้ายสถานที่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้น้องหมาซึมได้เหมือนกัน หรือในต่างประเทศที่มีอากาศ มีฤดูกาลเปลี่ยนแปลงชัดเจน ก็อาจจะส่งผลต่อการซึมลงของสุนัขได้เช่นกัน อาทิ เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว น้องหมาจะนอนเยอะขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศทำให้รู้สึกว่าร่างกายมีพลังงานลดลง 

 

         หากน้องหมาซึม มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปให้เจ้าของเฝ้าสังเกตอาการให้ครบ 24 ชั่วโมง เช็กว่าน้องมีอาการอย่างไรบ้าง อึถ่ายหรือไม่ กินอาหารได้ตามปกติหรือเปล่า หากครบ 24 ชั่วโมงแล้ว น้องหมาไม่มีทีท่าว่าจะหายซึมให้รีบพาน้องพบสัตวแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของอาการต่อไป 

 

         เพราะน้องหมาในบ้าน ก็เปรียบเสมือนคนในครอบครัวของเรา ที่เข้ามาสร้างสีสัน สร้างเสียงหัวเราะให้คนในบ้านมีความสุขได้ ในเวลาที่เขาเจ็บป่วย เราเองก็ต้องมีหน้าที่ดูแล รักษาเขาให้ดีที่สุด พร้อมกันการดูแลสุขภาพ ดูแลโภชนาการเขาให้ดีที่สุด ด้วยอาหารสุนัข Buzz Healty Life สูตรเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับน้องหมาที่คุณรัก ผลิตภัณฑ์เป็นสูตร Limited Ingredients ผลิตจากเนื้อแกะแท้ บำรุงกระดูก ข้อต่อ สำหรับสุนัขผิวแพ้ง่าย และสำหรับลูกสุนัข

อยากรับ แมวจร มาเลี้ยง ต้องเริ่มดูแลอย่างไร

การรับ แมวจร เข้ามาเป็นอีกหนึ่งสมาชิกคนสำคัญในบ้าน ต้องเริ่มดูแลเขาอย่างไร? วันนี้มีวิธีมาฝากค่ะ 

ถือเป็นน่ายินดีที่ได้ยินที่ไรก็ปลื้มใจทุกครั้ง เพราะน้องแมวจร 1 ตัวจะได้มีเจ้าของ จะได้รับการดูแล ได้รับความรัก กินอิ่ม นอนหลับได้เหมือนกับแมวบ้านตัวอื่น ๆ แต่เพราะแมวจรที่เราเจอ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าที่มาที่ไปของเขาเป็นอย่างไร พ่อแม่แมวเป็นใคร ร่างกายแข็งแรงดีหรือไม่ เคยโดนทำร้าย มีบาดแผล หรือติดโรคอะไรมาหรือเปล่า รวมไปถึงการปรับตัวต่าง ๆ ที่ต้องทำให้น้องแมวชินกับคนมากขึ้น ลดความระแวง ความหวาดกลัวที่ติดมากับนิสัยแมวจรลง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่เจ้าของทั้งมือเก่า มือใหม่ในการเลี้ยงแมว จำเป็นต้องให้ความสำคัญ แต่ไม่ได้ยากเกินใจทาสแมวอย่างแน่นอน 

 

อยากรับแมวจรมาเลี้ยง ต้องเริ่มดูแลอย่างไร 

การเปลี่ยนแมวจรให้กลายมาเป็นแมวบ้าน มีความแตกต่างในช่วงเริ่มต้น ที่ทาสแมวต้องใส่ใจในสุขภาพกายและสุขภาพใจของน้องมากเป็นพิเศษ เพื่อให้น้องแมวสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เข้ากับคนในบ้านมากที่สุด สิ่งที่ควรทำเบื้องต้นมีดังนี้ 

แมวจร

ต้องแน่ใจว่าน้องแมวจรไม่ติดโรคอะไรมา : แน่นอนว่าก่อนหน้านี้เขาก็ต้องพเนจรไปทั่วจนเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าน้องเป็นแมวที่หลุดมา หลงมา หรือเป็นแมวจรตั้งแต่เกิด เคยได้รับวัคซีนไหม? รับครบหรือเปล่า เคยได้เข้ารับการเจาะเลือดเพื่อตรวจโรคหรือไม่ เบื้องต้นจึงควรพาแมวจรไปเจาะเลือดตรวจโรค ตรวจสุขภาพ ถ่ายพยาธิ และเริ่มฉีดวัคซีนพื้นฐานกับสัตวแพทย์ การตรวจโรคให้แน่ใจก่อนนอกจากจะทำให้คุณสามารถรักษาเขาได้อย่างทันทีหากมีปัญหาแล้ว ยังช่วยป้องกันโรค ไม่ให้ติดแมวตัวอื่น ๆ ที่เลี้ยงอยู่แล้วในบ้านได้อีกด้วย 

กระชับพื้นที่น้องแมวก่อน : ในช่วงที่พึ่งรับน้องเข้ามาเลี้ยงใหม่ ๆ แนะนำให้กักบริเวณน้องในช่วง 3 – 5 วันแรกก่อน ในห้องหรือกรงที่กักบริเวณควรมีน้ำ อาหาร กระบะทรายให้พร้อม ระหว่างที่กักบริเวณอย่าลืมสังเกตอาการต่าง ๆ ของน้องแมวเพิ่มเติมด้วย เช่น กินอาหาร ขับถ่ายตามปกติไหม ถ่ายเป็นอย่างไร มีน้ำมูกหรือขี้ตาแฉะหรือไม่ หลังจากครบ 3 – 5 วัน คอยปล่อยให้น้องเริ่มสำรวจบ้านในส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติม การที่จะให้เขาปรับตัวให้คุ้นชินต้องใช้เวลาค่ะ 

ปรับพฤติกรรมแมว : หากเป็นแมวเด็ก เจ้าทาสอาจจะต้องสอนวิธีการใช้กระบะทรายเขาซะหน่อย หากน้องมีทีท่าว่ากำลังจะเบ่งขับถ่ายให้อุ้มเขาลงกระบะทรายทันที ทำเรื่อย ๆ 2 – 3 ครั้ง น้องแมวก็จะเรียนรู้ได้เองอัตโนมัติ ส่วนทาสแมวคนไหนที่รับน้องแมวจรที่เริ่มโตแล้วมาเลี้ยง ไม่ต้องกังวลเลยค่ะ เจ้าพวกนี้ส่วนใหญ่รู้ได้ด้วยตัวเอง 

นอกจากนี้ในช่วงแรกเริ่มที่เอาแมวจรเข้าบ้านมา อย่าพึ่งจับน้องอาบน้ำโดยเด็ดขาด ปล่อยให้เขาได้ปรับตัวกับสถานที่ และคุ้นชินกับคุณเสียก่อนค่ะ  แต่หากใครอดใจไม่ไหวในความสกปรกของน้องแมว อาจจะใช้กระดาษทิชชูเปียก หรือโฟมอาบน้ำแบบแห้งเช็ดตัวก่อนก็ได้ 

 

ดูแลสุขภาพน้องแมวต่อด้วยอาหารดี ๆ 

ปัญหาของน้องแมวจร รองมาจากเรื่องการตรวจหาโรค นั้นก็คือเรื่องของโภชนาการ ร่างกายผอมแห้งเพราะขาดสารอาหารเนี่ยละ วิธีแก้ไขนอกจากการเข้ารักษากับสัตวแพทย์ (ในกรณีขาดสารอาหารอย่างหนัก) การดูแลอาหารการกิน ปรับสมดุลให้สุขภาพของเขากลับมาสมบูรณ์แข็งแรงให้ได้มากที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญ แนะนำให้เลือกอาหารแมวที่มีการคิดค้นสำหรับสุขภาพของน้องแมวโดยเฉพาะอย่างอาหารเเมวบัซซ์ Advance Nutrition อาหารแมวสูตรคิดค้นพิเศษ ใช้สารอาหารและวิตามินเฉพาะ ตอบโจทย์สำหรับสุขภาพน้องแมวมากที่สุด มีให้เลือกหลายสูตรตามความต้องการ ตั้งแต่สูตรแมวผอม ต้องการเพิ่มน้ำหนัก สูตรสำหรับลูกแมวและแม่แมวท้อง สูตรเน้นบำรุงผิวหนัง ขนโดยเฉพาะ รวมไปถึงสูตรลดกลิ่นมูลของแมว สำหรับแมวที่เลี้ยงในบ้าน เลือกให้เหมาะกับปัญหาที่น้องแมวจรตัวใหม่ของคุณกำลังเจอ 

 

การรับแมวจรเข้ามาเลี้ยง มีเพียงความแตกต่างในช่วงแรกเท่านั้น หากน้องได้รับการตรวจเลือด เช็กสุขภาพเป็นที่เรียบร้อย บวกกับแมวเริ่มคุ้นชินกับคุณและสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพียงเท่านี้การเลี้ยงเขาก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แถมคุณจะรัก จะหลงเขามากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นน้องแมวแล้ว ดีกรีความขี้อ่อนไม่แพ้ใครแน่นอน

บาร์ฟ ดีต่อสุนัขของคุณอย่างไร

บาร์ฟ คืออะไร ? ใครรู้บ้าง ก่อนให้บาร์ฟแก่สุนัขของคุณ เรามาทำความรู้จักกับอาหารประเภทนี้อย่างถ่องแท้กันก่อนดีกว่า

 

บาร์ฟ คืออะไร ?

บาร์ฟ ( BARF ) มาจากคำว่า Biological Appropriate Raw Foods ที่หมายถึงอาหารสดแบบดิบนั่นเอง ซึ่งเคยเป็นพฤติกรรมการกินแบบเดิมของสุนัขในอดีต ก่อนที่จะกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงแสนรักของเรา สุนัขเคยเป็นนักล่า และกินอาหารดิบมาก่อน โดยบาร์ฟในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเพียงเนื้อ หรือกระดูกสดเท่านั้น แต่ยังหมายรวม ผัก ผลไม้ ธัญพืชสดด้วย

บาร์ฟ

เคยมีผู้ทดลองให้สุนัขกินบาร์ฟติดต่อกัน ผลปรากฎว่า สุนัขมีสุขภาพดี และแข็งแรงขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ และผิวหนังก็ลดลง เห็นอย่างนี้หลายคนคงเริ่มอยากให้สุนัขกินบาร์ฟกันแล้วใช่ไหมล่ะ ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า ข้อดีของการกินบาร์ฟมีอะไรบ้าง

 

สุนัขกินบาร์ฟ ดีอย่างไร ?

  • สุนัขจะได้รับสารอาหารเต็มที่
  • เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และกระดูกให้แข็งแรง
  • ผิวหนังสุขภาพดี ลดปัญหาโรคผิวหนัง และอาการแพ้ต่าง ๆ
  • ขนเงางาม ไม่หลุดร่วงง่าย และลดกลิ่นตัว
  • ฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง และลดปัญหากลิ่นปาก
  • ช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ระบบย่อยอาหาร และขับถ่ายดี ทำให้ปริมาณและกลิ่นของอุจจาระน้อยลง
  • ไม่มีวัตถุกันเสีย สีสังเคราะห์ และสารปรุงแต่ง
  • เสริมภูมิต้านทานให้สุนัข ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไขข้อ โรคมะเร็ง เป็นต้น

บาร์ฟที่ดีต้องสดใหม่

แม้จะมีข้อดีมากมาย แต่การให้บาร์ฟแก่สุนัขก็มีความเสี่ยงไม่ใช่น้อย เนื่องจากของสดมีความเสี่ยงที่จะมีสารปนเปื้อน เชื้อโรค และพยาธิ ทางที่ดีคุณจะต้องเลือกของสดใหม่วันต่อวันให้แก่สุนัข และถ่ายพยาธิสุนัขเป็นประจำทุกเดือน นอกจากอันตรายจากเชื้อโรคแล้ว การให้บาร์ฟยังมีข้อเสียอีก คือ ราคาค่อนข้างสูง มีความยุ่งยากในขั้นตอนการเตรียมอาหาร เก็บรักษาได้ไม่นาน และสุนัขมีความเสี่ยงต่อภาวะการขาดสารอาหาร เกิดการอักเสบของกระเพาะ และลำไส้ รวมทั้งเกิดภาวะท้องผูกได้ง่าย หากให้บาร์ฟในสัดส่วนที่ไม่สมดุล

 

วิธีให้บาร์ฟแก่สุนัข

ปริมาณบาร์ฟที่ให้แก่สุนัข ขึ้นอยู่กับขนาดและสารพันธ์ุ โดยในช่วงแรกของการให้บาร์ฟ ควรให้ในปริมาณน้อย ๆ ก่อน เพื่อให้สุนัขปรับตัวราว 7 วัน หลังจากนั้นค่อยเพิ่มปริมาณ หากต้องการให้สุนัขกินผัก ก็สามารถบดผักผสมลงไปในเนื้อสัตว์ด้วยก็ได้

การกินบาร์ฟให้ได้สารอาหารครบถ้วน เราควรจัดตารางอาหารใน 1 สัปดาห์ ให้สุนัข โดยให้อาหารประเภทเนื้อ 5 วัน อาหารปราศจากเนื้อ 1 วัน และงดอาหาร 1 วัน ( ยกเว้นในกรณีที่เป็นลูกหมา )

 

บาร์ฟ จึงเป็นอาหารทางเลือกที่ช่วยให้สุนัขของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรงได้ หากใครยังไม่แน่ใจว่าเจ้าตูบของคุณกินบาร์ฟได้หรือไม่ ก็สามารถปรึกษาสัตวแพทย์ได้ แต่ถ้ายังไม่อยากให้บาร์ฟแก่สุนัข เราก็มีอีกหนึ่งทางเลือกที่อัดแน่นด้วยคุณประโยชน์ไม่แพ้กัน นั่นคือ Buzz Netura High – Quality Meat / Grain Free อาหารสุนัขที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์คุณภาพพรีเมียม พร้อมผัก ผลไม้ ที่อุดมด้วยวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ ย่อยง่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก บำรุงขนให้เงางาม ลดความเสี่ยงที่จะเป็นภูมิแพ้อาหาร รวมทั้งลดปริมาณ และกลิ่นอุจจาระสุนัข ไม่แต่งสี กลิ่น รส และไม่มีสารกันบูด รับรองได้ว่า เจ้าตูบจะมีสุขภาพแข็งแรงได้ในระยะยาวอย่างแน่นอน

 

ฉีดวัคซีนแมว สิ่งสำคัญที่ทาสแมวต้องทำ

ฉีดวัคซีนแมว เป็นเรื่องสำคัญที่ทาสแมวละเลยไม่ได้ เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้เจ้าเหมียวมีสุขภาพที่ดี อยู่เป็นเพื่อนกันไปนาน ๆ

 

การฉีดวัคซีนแมว สำคัญอย่างไร

ฉีดวัคซีนแมว เป็นเหมือนการฉีดเชื้อโรคที่อ่อนแรงเข้าไป เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคนั้น ๆ ซึ่งมักเป็นโรคร้ายแรงที่รักษาได้ยาก หรือรักษาไม่ได้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หัดแมว โรคลำไส้อักเสบในแมว เป็นต้น การฉีดวัคซีนแมวจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยปกป้องเจ้าเหมียวจากโรคต่าง ๆ โดยวัคซีนแมวแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

 

ฉีดวัคซีนแมว ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ? 

1.ฉีดวัคซีนแมวต้องฉีดวัคซีนหลัก

แมวทุกตัวต้องฉีดวัคซีนหลัก เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

  • วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
  • วัคซีนเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัส – 1 
  • วัคซีนเชื้อแคลิซิไวรัสแมว
  • วัคซีนเชื้อไวรัสไข้หัดแมว

2.ฉีดวัคซีนแมวอาจต้องฉีดวัคซีนทางเลือก

แมวบางตัวอาจต้องฉีดวัคซีนทางเลือก ในกรณีที่แมวมีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ และอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง

  • วัคซีนไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว
  • วัคซีนลิวคีเมียไวรัส ( บางแหล่งจัดเป็นวัคซีนหลัก )
  • Chlamydia felis 
  • Bordetella bronchiseptica

3.ฉีดวัคซีนแมวก็มีวัคซีนที่ไม่แนะนำให้ฉีดด้วย

ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนที่มีผลข้างเคียงรุนแรง หรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคไม่ชัดเจน

ดังนั้น การฉีดวัคซีนแมวทุกครั้ง ทางที่ดีควรอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าเหมียว เพราะสัตวแพทย์จะสามารถประเมินความเสี่ยง ช่วงวัยที่เหมาะสม ชนิดของวัคซีน และกำหนดโปรแกรมการฉีดวัคซีนของแมวแต่ละตัวได้ดีที่สุด

ฉีดวัคซีนแมว ต้องฉีดเมื่อไหร่

ทาสแมวมือใหม่หลายคนคงมีคำถามว่า แล้วต้องพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้คุณแล้ว

วัคซีนแมว

ในช่วงแรกเกิด ลูกแมวจะได้รับภูมิคุ้มกันจากนมแม่ แต่หลังจากหย่านม ภูมิคุ้มกันจากแม่จะค่อย ๆ ลดลง ลูกแมวจึงต้องได้รับวัคซีน ดังนั้น ในการฉีดวัคซีนครั้งแรก ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนหลัก แมวจะต้องมีอายุประมาณ 7 – 9 สัปดาห์ หรือราว 2 เดือน จึงสามารถพามาฉีดได้ และควรฉีดครั้งที่ 2 ใน 3 – 5 สัปดาห์หลังจากนั้น 

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 8 สัปดาห์ ( วัคซีนเข็มแรก ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ 1 – 2 ครั้ง )

ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หัด หวัดแมว และโรคระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และลิ้นอักเสบ

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 11 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หัด หวัดแมว และโรคระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และลิ้นอักเสบ

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 14 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หัด หวัดแมว และโรคระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และลิ้นอักเสบ

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 17 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (ครั้งที่ 1 )

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 20 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (ครั้งที่ 2 )

ในทุก ๆ 1 ปี แมวจะต้องได้รับการฉีดกระตุ้นวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ไข้หัด หวัดแมว โรคระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และลิ้นอักเสบ ทั้งนี้ โปรแกรมการฉีดวัคซีนแมวจะปรับเปลี่ยนตามดุลพินิจของสัตวแพทย์

 

การฉีดวัคซีนแมว จึงเป็น 1 วิธี ในการดูแลสุขภาพของเจ้าเหมียวให้ปลอดภัย ห่างไกลโรค แมวทุกตัวจึงต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี แต่นอกจากการได้รับวัคซีนแล้ว การดูแลสุขภาพของเจ้าเหมียวด้วยการเลือกอาหารแมวคุณภาพดี ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ทาสแมวจึงต้องเลือกสรรอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนให้เจ้าเหมียว อย่าง Buzz Balance Nutrition อาหารแมวที่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็น มีโซเดียมต่ำ ไม่มีสีสังเคราะห์ และสารกันบูด เพื่อสุขภาพที่ดีของแมวที่คุณรัก 

 

ดูแลแมวท้อง ให้สุขภาพดี ต้องทำอย่างไร

ดูแลแมวท้อง ทาสอย่างเราต้องทำอย่างไร เมื่อเจ้าเหมียวของคุณอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และกำลังติดสัด ซึ่งในช่วงเวลา 4 – 6 วัน มีความเสี่ยงอย่างมากที่เจ้าเหมียวจะตั้งท้อง

 

เมื่อต้องดูแลแมวท้อง

สัญญาณที่บ่งบอกถึงการตั้งท้องของเจ้าเหมียว คือ กินและนอนบ่อยขึ้น หัวนมขยายตัว อาจมีน้ำนมไหลออกมา อีกทั้งช่วงท้องจะกลมและมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเจ้าเหมียวมีลักษณะเช่นนี้ ทาสก็เตรียมตัวอุ้มหลานได้เลย

โดยในการดูแลแมวท้องนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ทาสต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งท้องของแมวเสียก่อน ซึ่งแมวจะใช้เวลาในการตั้งท้องประมาณ 65 วัน โดยเฉลี่ย หรือราว 9 สัปดาห์ ในช่วงเวลาตั้งท้องของแมวจะเป็น 3 ช่วง โดยใน 2 ช่วงแรก แมวจะมุ่งเน้นเพิ่มไขมันเพื่อลูกแมวในท้อง และช่วงสุดท้าย จะเป็นช่วงที่น้ำหนักแม่แมวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเจริญเติบโตของลูกแมว

ดูแลแมวท้อง

เริ่มต้นดูแลแมวท้อง

 

  • ดูแลแมวท้อง ต้องพาไปพบสัตวแพทย์

เมื่อพบสัญญาณแห่งการตั้งท้อง ควรพาเจ้าเหมียวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกาย และยืนยันการตั้งท้อง หากตั้งท้องทาสจะต้องพาเจ้าเหมียวมาพบสัตวแพทย์เป็นประจำตามนัด

 

  • ดุแลแมวท้อง ต้องเน้นเรื่องอาหาร

แมวท้องต้องการพลังงานสูง เพื่อการเจริญเติบโตของลูกแมวในท้อง และการผลิตน้ำนม เราจึงต้องเลือกอาหารสำหรับแมวท้องหรืออาหารลูกแมวโดยเฉพาะ เนื่องจากอาหารประเภทนี้จะมีสารอาหารจำเป็นสำหรับแม่และลูกแมวครบถ้วน อีกทั้งยังเคี้ยวและย่อยง่ายด้วย โดยในช่วงตั้งท้องควรให้อาหารแมวในปริมาณเพิ่มขึ้น 20 – 25 % จากปริมาณเดิมที่เคยให้

 

  • ดูแลแมวท้อง อย่าลืมควบคุมน้ำหนัก 

การชั่งน้ำหนักแมวเป็นประจำ และควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสม จะช่วยแก้ปัญหาแมวน้ำหนักเกินในช่วงตั้งท้องได้ เพราะน้ำหนักที่มากเกินไปจะนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดลูกได้ โดยน้ำหนักแม่แมวขณะตั้งท้องไม่ควรเพิ่มเกิน 40 % ของน้ำหนักตัวเดิม

 

  • ดูแลแมวท้อง ต้องเตรียมพร้อมเมื่อแมวจะคลอดลูก

จัดสถานที่ภายในบ้านให้เหมาะสม เพื่อให้แมวเลือกคลอดในพื้นที่ที่ปลอดภัย เช่น เตรียมกล่อง พร้อมผ้ารอง ตั้งไว้บริเวณที่สะอาด ไม่มีคนรบกวน และอบอุ่น พร้อมเตรียมอาหาร และน้ำไว้ใกล้ ๆ บริเวณนั้นด้วย แต่ถ้าใครกลัวจะเกิดปัญหาระหว่างคลอดหากให้แมวคลอดเองตามธรรมชาติ เราก็แนะนำให้พาเจ้าเหมียวมาคลอดในความดูแลของสัตวแพทย์ โดยควรพามาพบสัตวแพทย์ในช่วง 1 – 2 สัปดาห์ ก่อนคลอด เพื่อการคลอดที่ปลอดภัย

 

จะเห็นได้ว่า การดูแลแมวท้องไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ทาสอย่างเราจะต้องใส่ใจเรื่องที่อยู่อาศัย น้ำหนักตัว และอาหารการกินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเลือกให้อาหารสำหรับแม่แมวตั้งท้องโดยเฉพาะ อย่าง Buzz Advanced Nutrition สูตรลูกแมว และ แม่เเมวตั้งท้อง ถือเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของลูกแมว และ บำรุงแม่แมวให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนในช่วงตั้งท้องและให้นมลูก ได้ในเวลาเดียวกัน

สุนัขกินกระดูก ภัยเงียบที่ฆ่าชีวิตได้

สุนัขกินกระดูก ได้หรือไม่ นี่คงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ คนที่พึ่งเลี้ยงสุนัข วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยนี้ไปพร้อม ๆ กัน

 

อันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อ สุนัขกินกระดูก

ปัญหามักเกิดขึ้นจากสิ่งที่เรารับรู้จนเคยชิน ที่ว่า เจ้าตูบกินกระดูก เจ้าเหมียวกินปลา ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด เนื่องจากในอดีต สุนัขที่ล่าเหยื่อก็ไม่ได้กินเพียงแค่เนื้อและอวัยวะต่าง ๆ เท่านั้น กระดูกก็เป็นอีก 1 ส่วน ที่เป็นอาหารชั้นยอดของสุนัข แต่ในปัจจุบัน เมื่อมีการรักษาพยาบาลสัตว์ เราก็พบว่า สุนัขกินกระดูกถือเป็oเรื่องอันตรายมิใช่น้อย โดยเฉพาะกระดูกต้มสุก ที่มักแตกหักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในร่างกาย ส่วนกระดูกดิบ แม้จะอันตรายน้อยกว่าและมีประโยชน์ไม่ใช่ย่อย แต่ก็เสี่ยงต่อเชื้อโรคและการติดพยาธิ

อันตรายที่เกิดขึ้นจากสุนัขกินกระดูก สามารถจำแนกตามขนาดกระดูกได้ 2 กรณี ดังนี้

  • สุนัขกินกระดูกชิ้นใหญ่

กระดูกหมูหรือวัวที่มีขนาดใหญ่ เช่น ท่อนขา สุนัขจะไม่สามารถกินเข้าไปได้ จึงต้องใช้การแทะไปเรื่อย ๆ โดยกระดูกลักษณะเช่นนี้ ยิ่งสุกจะยิ่งแข็ง ซึ่งอันตรายต่อฟันเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจเป็นเหตุให้ฟันบิ่นหรือหักจนไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงได้

  • สุนัขกินกระดูกชิ้นเล็ก

กระดูกไก่ มักเป็นหนึ่งตัวเลือกที่จะกลายเป็นอาหารของสุนัข ซึ่งกระดูกเล็ก ๆ แบบนี้จะแตกหักเป็นชิ้น มีปลายแหลม ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะในทางเดินอาหารของสุนัข ไม่ว่าจะเป็น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และสำไส้ เพราะกระดูกเล็กแหลมจะทิ่มแทง และอุดตันในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการอาเจียน อาจมีท้องเสียร่วมด้วย มีเลือดออกทางช่องทวารหนัก หายใจลำบาก หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจนำไปสู่การสูญเสียได้ ดังนั้น หากสุนัขมีความเสี่ยง หรือเริ่มมีอาการผิดปกติ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

หมากินกระดูก

สรุปแล้วสุนัขกินกระดูกได้หรือไม่ ?

แม้การกินกระดูกจะสร้างผลกระทบต่อร่างกายของเจ้าตูบในระยะยาว แต่สุนัขก็สามารถกินกระดูกได้ เพียงแค่เจ้าของต้องเลือกสรร และไม่ให้กระดูกบ่อยเกินไป โดยให้เป็นกระดูกชิ้นเล็ก ที่ไม่เล็กจนกลืนได้ทันที ติดเนื้อ นิ่ม เคี้ยวง่าย สดใหม่ ไม่สุกเต็มที่ แต่ต้องผ่านความร้อนเพื่อฆ่าพยาธิและเชื้อโรค การให้กระดูกจะทำให้เจ้าตูบได้บริหารฟัน กระดูกจะช่วยขัดฟันและเหงือกให้สะอาดไปในตัว

 

สุนัขกินกระดูกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ดูเหมือนว่าข้อเสียที่เกิดขึ้นจะรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง ทางที่ดี เจ้าของอย่างเราควรหลีกเลี่ยงที่จะให้กระดูกสุนัขกินน่าจะดีที่สุด แล้วเปลี่ยนมาให้ Buzz Balance Nutrition อาหารสุนัขคุณภาพสูง ที่มีให้เลือกหลายรสชาติ ควบคุมปริมาณโซเดียม ไม่มีสีสังเคราะห์ อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ แคลเซียม และฟอสฟอรัส เพราะฉะนั้น ถึงไม่กินกระดูก สุนัขของคุณก็จะได้รับสารอาหารครบถ้วนอย่างแน่นอน