Cook With Heart, Feed With Love™

โรคพิษสุนัขบ้า ภัยร้ายของเจ้าตูบ

โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่แพร่ระบาดได้ทุกฤดู แต่มักพบมากในฤดูร้อน โดยเกิดจากเชื้อไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ซึ่งสามารถฆ่าชีวิตสุนัขที่คุณรักได้อย่างง่ายดาย 

 

โรคพิษสุนัขบ้า เกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากไวรัส Rabies Virus ซึ่งพบได้ในสัตว์เลือดอุ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ ไม่ใช่แค่เพียงสุนัขหรือแมวเท่านั้น โดยเชื้อไวรัสจะอยู่ในน้ำลาย เมื่อได้รับเชื้อ มันจะแพร่กระจายเข้าไปสู่เส้นประสาทส่วนปลาย ไขสันหลัง และเข้าสู่สมอง โดยแบ่งตัวในสมอง และปล่อยเชื้อไวรัสเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย หนึ่งในนั้นคือต่อมน้ำลาย สุนัขที่ได้รับเชื้อจะเริ่มแสดงอาการภายใน 14 – 90 วัน โดยสามารถแบ่งอาการของโรคได้ 3 ระยะ ดังนี้

 

สังเกตอาการของโรคพิษสุนัขบ้า

1.โรคพิษสุนัขบ้าระยะที่ 1 

    อาการระยะเริ่มแรก จะแสดงอาการ 2 – 3 วัน โดยสุนัขจะมีอุปนิสัยและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หงุดหงิดง่าย แยกมาอยู่ตัวเดียว ไม่คลุกคลีกับเจ้าของเหมือนเคย อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ ม่านตาขยาย และตอบสนองต่อแสงลดลง

2.โรคพิษสุนัขบ้าระยะที่ 2

    อาการระยะตื่นเต้น แสดงอาการ 1 – 7 วัน โดยสุนัขจะมีอาการกระวนกระวาย มีอาการทางประสาท ตอบสนองรุนแรงต่อเสียงและสิ่งเร้า แสดงอาการดุร้าย กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า วิ่งอย่างไร้จุดหมาย ไม่แสดงอาการเจ็บปวดแม้จะได้รับบาดเจ็บ เสียงเห่าหอนผิดปกติ ลิ้นห้อย น้ำลายไหลเยอะผิดปกติ

3.โรคพิษสุนัขบ้าระยะที่ 3 

    อาการระยะอัมพาต ซึ่งเป็นระยะที่สั้นที่สุด โดยสุนัขจะคางห้อยตก ลิ้นสีแดงคล้ำห้อยออกมา น้ำลายไหลเยอะมาก ขาอ่อนเปลี้ย ทรงตัวไม่ได้ เมื่อล้มแล้วจะลุกไม่ได้ เกิดเป็นอัมพาตทั้งตัวอย่างรวดเร็ว และตายในที่สุด

โดยการแสดงอาการของสุนัขในแต่ละระยะนั้น จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดุร้าย และแบบซึม

  • โรคพิษสุนัขบ้าแบบดุร้าย จะแสดงอาการระยะตื่นเต้นเด่นชัด และยาวนาน แต่ระยะอัมพาตสั้นมาก
  • โรคพิษสุนัขบ้าแบบซึม จะแสดงอาการระยะตื่นเต้นสั้นมาก แต่แสดงเด่นชัดในระยอัมพาต

โรคพิษสุนัขบ้าสามารถแพร่เชื้อผ่านทางน้ำลายได้ตั้งแต่ 1 – 7 วันก่อนแสดงอาการจนกระทั่งตาย โดยคนที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ามักติดเชื้อจากการถูกกัด ข่วน ถูกเลีย หรือน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อกระเด็นเข้าแผล

พิษสุนัขบ้า

ป้องกันเจ้าตูบจากโรคพิษสุนัขบ้า

เพราะท้ายที่สุดมักจบด้วยความตาย โรคพิษสุนัขบ้าจึงเป็นโรคที่ร้ายแรงสำหรับเจ้าตูบเป็นอย่างมาก เจ้าของอย่างเราจึงต้องใส่ใจดูแลและป้องกัน ด้วยการ

  • พาเจ้าตูบไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนดเวลาเป็นประจำทุกปี
  • จำกัดพื้นที่ หรือใช้สายจูงทุกครั้งเมื่อพาเจ้าตูบไปเดินเล่นนอกบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์ตัวอื่น

 

นอกจากนี้ อย่าลืมเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง และภูมิคุ้มกันที่ดีให้เจ้าตูบด้วยอาหารสุนัขที่มีความสมดุลทางโภชนาการ Buzz Balance Nutrition อาหารเพื่อสุนัขทุกสายพันธุ์ ที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ เพิ่มภูมิคุ้มกันที่ดี บำรุงกระดูก ฟัน ระบบประสาท และสมอง อีกทั้งยังควบคุมปริมาณโซเดียม ไม่แต่งสี และไม่ใส่สารกันบูด เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นจากอาหารที่ให้ เพื่อเจ้าตูบที่คุณรัก ต้องเลือก Buzz Pet Food

ฉีดวัคซีนแมว สิ่งสำคัญที่ทาสแมวต้องทำ

ฉีดวัคซีนแมว เป็นเรื่องสำคัญที่ทาสแมวละเลยไม่ได้ เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้เจ้าเหมียวมีสุขภาพที่ดี อยู่เป็นเพื่อนกันไปนาน ๆ

 

การฉีดวัคซีนแมว สำคัญอย่างไร

ฉีดวัคซีนแมว เป็นเหมือนการฉีดเชื้อโรคที่อ่อนแรงเข้าไป เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคนั้น ๆ ซึ่งมักเป็นโรคร้ายแรงที่รักษาได้ยาก หรือรักษาไม่ได้ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หัดแมว โรคลำไส้อักเสบในแมว เป็นต้น การฉีดวัคซีนแมวจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยปกป้องเจ้าเหมียวจากโรคต่าง ๆ โดยวัคซีนแมวแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

 

ฉีดวัคซีนแมว ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ? 

1.ฉีดวัคซีนแมวต้องฉีดวัคซีนหลัก

แมวทุกตัวต้องฉีดวัคซีนหลัก เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

  • วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
  • วัคซีนเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัส – 1 
  • วัคซีนเชื้อแคลิซิไวรัสแมว
  • วัคซีนเชื้อไวรัสไข้หัดแมว

2.ฉีดวัคซีนแมวอาจต้องฉีดวัคซีนทางเลือก

แมวบางตัวอาจต้องฉีดวัคซีนทางเลือก ในกรณีที่แมวมีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ และอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง

  • วัคซีนไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว
  • วัคซีนลิวคีเมียไวรัส ( บางแหล่งจัดเป็นวัคซีนหลัก )
  • Chlamydia felis 
  • Bordetella bronchiseptica

3.ฉีดวัคซีนแมวก็มีวัคซีนที่ไม่แนะนำให้ฉีดด้วย

ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนที่มีผลข้างเคียงรุนแรง หรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคไม่ชัดเจน

ดังนั้น การฉีดวัคซีนแมวทุกครั้ง ทางที่ดีควรอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าเหมียว เพราะสัตวแพทย์จะสามารถประเมินความเสี่ยง ช่วงวัยที่เหมาะสม ชนิดของวัคซีน และกำหนดโปรแกรมการฉีดวัคซีนของแมวแต่ละตัวได้ดีที่สุด

ฉีดวัคซีนแมว ต้องฉีดเมื่อไหร่

ทาสแมวมือใหม่หลายคนคงมีคำถามว่า แล้วต้องพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้คุณแล้ว

วัคซีนแมว

ในช่วงแรกเกิด ลูกแมวจะได้รับภูมิคุ้มกันจากนมแม่ แต่หลังจากหย่านม ภูมิคุ้มกันจากแม่จะค่อย ๆ ลดลง ลูกแมวจึงต้องได้รับวัคซีน ดังนั้น ในการฉีดวัคซีนครั้งแรก ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนหลัก แมวจะต้องมีอายุประมาณ 7 – 9 สัปดาห์ หรือราว 2 เดือน จึงสามารถพามาฉีดได้ และควรฉีดครั้งที่ 2 ใน 3 – 5 สัปดาห์หลังจากนั้น 

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 8 สัปดาห์ ( วัคซีนเข็มแรก ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ 1 – 2 ครั้ง )

ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หัด หวัดแมว และโรคระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และลิ้นอักเสบ

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 11 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หัด หวัดแมว และโรคระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และลิ้นอักเสบ

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 14 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หัด หวัดแมว และโรคระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และลิ้นอักเสบ

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 17 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (ครั้งที่ 1 )

  • ฉีดวัคซีนแมวอายุ 20 สัปดาห์

ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (ครั้งที่ 2 )

ในทุก ๆ 1 ปี แมวจะต้องได้รับการฉีดกระตุ้นวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ไข้หัด หวัดแมว โรคระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และลิ้นอักเสบ ทั้งนี้ โปรแกรมการฉีดวัคซีนแมวจะปรับเปลี่ยนตามดุลพินิจของสัตวแพทย์

 

การฉีดวัคซีนแมว จึงเป็น 1 วิธี ในการดูแลสุขภาพของเจ้าเหมียวให้ปลอดภัย ห่างไกลโรค แมวทุกตัวจึงต้องได้รับการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี แต่นอกจากการได้รับวัคซีนแล้ว การดูแลสุขภาพของเจ้าเหมียวด้วยการเลือกอาหารแมวคุณภาพดี ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน ทาสแมวจึงต้องเลือกสรรอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนให้เจ้าเหมียว อย่าง Buzz Balance Nutrition อาหารแมวที่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็น มีโซเดียมต่ำ ไม่มีสีสังเคราะห์ และสารกันบูด เพื่อสุขภาพที่ดีของแมวที่คุณรัก