Cook With Heart, Feed With Love™

เทคนิค อาบน้ำแมว เพื่อขนสวยสุขภาพดี

อาบน้ำแมว อาจเป็นเรื่องปวดหัวของทาสแมวบางคนที่มีแมวไม่ชอบอาบน้ำ แต่ถ้าคุณได้รู้เทคนิคเหล่านี้ เชื่อได้ว่าการอาบน้ำแมวจะกลายเป็นเรื่องง่ายไปทันที

อาบน้ำแมวจำเป็นอย่างไร ?

การอาบน้ำแมวถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ทาสควรทำให้แมว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแมวขนยาว แม้เจ้าเหมียวจะเป็นสัตว์รักสะอาดที่มักจะเลียทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอ แต่มันก็เทียบเท่าการอาบน้ำไม่ได้ เพราะการอาบน้ำจะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกออกจากผิวหนังและขนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยป้องกันปรสิตอย่างเห็บ และหมัดได้อีกด้วย การอาบน้ำแมวจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลขนและผิวหนังให้มีสุขภาพดี

แมวอาบน้ำ

อาบน้ำแมวทำได้บ่อยแค่ไหน ?

แม้จะเป็นวิธีดูแลความสะอาดที่สำคัญ แต่การอาบน้ำแมวก็ไม่ควรทำบ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้ขนของเจ้าเหมียวอ่อนแอลงได้ เนื่องจากสูญเสียน้ำมันเคลือบขน และอาจเป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้แมวป่วยได้ด้วย ดังนั้น ทาสจึงควรอาบน้ำแมว 1 ครั้ง / 1 – 3 เดือน เท่านั้น

 

เทคนิคการอาบน้ำแมว

แต่ปัญหาใหญ่ของการอาบน้ำแมวที่ทาสหลายคนต้องประสบ คือ เจ้าเหมียวไม่ชอบอาบน้ำ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะโดยพื้นฐานแมวเป็นสัตว์ที่กลัวน้ำอยู่แล้ว การที่จะทำให้แมวยอมอาบน้ำได้ง่าย ๆ จึงต้องฝึกให้แมวคุ้นชินกับน้ำตั้งแต่ยังเด็ก โดยเมื่อแมวอายุได้ 2 เดือน ให้เริ่มจับเท้าของน้องมาจุ่มน้ำอุ่น ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำจนอาบน้ำได้ ซึ่งในขณะที่อาบน้ำให้น้องทาสจะต้องใจเย็น ไม่ดุ ตี หรือจับหนังคอน้อง เพราะมันอาจทำให้น้องเครียด และฝังใจจนไม่อยากอาบน้ำอีกต่อไป

แต่ถ้าคุณไม่ได้ฝึกน้องมาตั้งแต่ยังเด็ก ก็ต้องเตรียมใจว่าอาจเกิดรอยขีดข่วนบนตัวคุณได้เลย เป็นเหตุให้ทาสหลายคนต้องพึ่งร้านอาบน้ำสัตว์เลี้ยง แต่ถ้าคุณอยากอาบน้ำให้เจ้าเหมียวเอง ก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่

  • แชมพูสำหรับอาบน้ำแมวโดยเฉพาะ
  • ผ้าเช็ดตัวแมว 
  • แปรงสำหรับแปรงขนแมว
  • ไดร์เป่าผม
  • อ่างอาบน้ำ
  • น้ำอุ่น ๆ 

และทาสจะต้องใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด โดยมีความหนาพอสมควร เพื่อป้องกันเจ้าเหมียวข่วน ถ้าจัดเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเริ่มอาบน้ำแมวกันเลย !

  • ตรวจเช็กร่างกายของแมว และสภาพอากาศ หากแมวซึม ไม่ร่าเริง ไม่กินอาหาร หรือขับถ่ายผิดปกติ อีกทั้งหากอากาศเย็น ชื้น หรือมีฝนตก ทาสไม่ควรอาบน้ำให้น้อง
  • แปรงขนให้น้องเหมียวก่อนอาบน้ำ
  • พาน้องลงอ่างน้ำอุ่นช้า ๆ โดยเริ่มจากเอาขาน้องจุ่มน้ำ รอจนน้องนิ่ง แล้วจึงค่อย ๆ ทำให้ตัวน้องเปียกโดยระวังอย่างให้เข้าตา และจมูก ในกรณีที่ใช้ฝักบัวในการอาบ ต้องเปิดน้ำให้เบาที่สุด
  • ผสมแชมพูกับน้ำก่อนลูบไล้ลงบนตัวน้องอย่างเบามือ ถูให้ทั่วทั้งตัว ยกเว้นบริเวณใบหน้า 
  • ล้างแชมพูออกให้หมด ส่วนบริเวณใบหน้าจะทำความสะอาดโดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดเบา ๆ 
  • เมื่ออาบน้ำเสร็จ ต้องเช็ดตัวน้องให้แห้ง และเป่าขนด้วยไดร์เป่าผมโดยไม่ใช้ความร้อนให้แห้งสนิท จากนั้นแปรงขนน้องอีกครั้ง เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

อาบน้ำแมว ไม่ใช่เรื่องยาก และถือเป็นวิธีในการดูแลสุขภาพขนและผิวหนังของเจ้าเหมียวที่สำคัญ ส่วนการดูแลจากภายในที่ลืมไม่ได้ ก็คือการเลือกอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นขนและผิวหนังโดยตรง อย่าง Buzz Advanced Nutrition สูตรบำรุงเส้นขน เเละ ผิวหนัง อาหารแมวสำหรับแมวทุกสายพันธุ์ ด้วยโภชนาการสารอาหารที่สมดุล พร้อมเพิ่มคอลลาเจน กรดไขมันโอเมก้า 6 และกรดไขมันโอเมก้า 3 เพื่อช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนังและขนให้เงางาม เจ้าเหมียวของคุณจึงมีขนสวย นุ่ม น่ากอด

 

ก้อนขนอุดตัน ปัญหาของเจ้าเหมียวที่ต้องจัดการ

เพราะเจ้าเหมียวชอบเลียขน จึงไม่แปลกที่จะเกิดปัญหา ก้อนขนอุดตัน ทาสแมวจะต้องหาวิธีป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

 

ก้อนขนอุดตัน เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ก้อนขนอุดตัน ปัญหาที่มักพบในแมว โดยเฉพาะแมวขนยาว เพราะพฤติกรรมรักสะอาดโดยธรรมชาติของแมวที่มักจะจัดแต่งขน ทำความสะอาดร่างกายตัวเองด้วยการเลียขน ซึ่งลิ้นของเจ้าเหมียวที่มีลักษณะสากเหมือนหนามเล็ก ๆ  จะทำหน้าที่คล้ายกับแปรงช่วยเกี่ยวขนให้หลุดร่วงออกไป ซึ่งขนเหล่านี้ก็ไม่ได้ร่วงลงพื้นหรือหายไปไหน แต่เจ้าเหมียวจะกลืนมันเข้าไปด้วย โดยขนที่อยู่ในทางเดินอาหารจะรวมตัวกันเป็นก้อน หรือที่เรียกว่า ก้อนขน ( Hair Ball ) ซึ่งโดยปกติเจ้าเหมียวจะกำจัดก้อนขนออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระหรืออาเจียนออกมา แต่ในกรณีที่ยังมีก้อนขนตกค้างในทางเดินอาหาร เพราะกินขนเข้าไปมากกว่าปกติ หรือการทำงานของระบบย่อยอาหารผิดปกติ จะส่งผลให้เกิดปัญหาก้อนขนอุดตันได้ ซึ่งสร้างผลกระทบต่อร่างกายของเจ้าเหมียวได้ไม่ใช่น้อย

 

ก้อนขนอุดตัน ส่งผลอย่างไรต่อเจ้าเหมียว

  • ก้อนขนอุดตัน ทำให้ท้องผูกและท้องเสีย เนื่องจากลำไส้จะบีบตัวเพื่อกำจัดก้อนขน ซึ่งการบีบตัวมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ ส่วนกรณีท้องผูก ก็เป็นเพราะก้อนขนขนาดใหญ่อุดตันในลำไส้ทำให้ขับถ่ายลำบาก
  • ก้อนขนอุดตัน ทำให้ไอและอาเจียน เพื่อขับก้อนขนที่ตกค้างออกมา
  • ก้อนขนอุดตัน ทำให้เบื่ออาหารและเซื่องซึม เพราะปัญหาการขับถ่าย รวมทั้งอาการอื่น ๆ ของปัญหาก้อนขนอุดตัน ทำให้เจ้าเหมียวอยากอาหารน้อยลง

เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าเหมียวจากปัญหาก้อนขนอุดตัน ทาสจะต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องการทำความสะอาดร่างกาย และอาหารเป็นพิเศษ

ก้อนขนอุดตัน

 

ป้องกันปัญหาก้อนขนอุดตันด้วยวิธีง่าย ๆ 

วิธีป้องกันปัญหาก้อนขนอุดตัน เริ่มจากการกำจัดต้นต่อของปัญหา นั่นคือ การอาบน้ำให้เจ้าเหมียวอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยต้องเป่าขนให้แห้ง และแปรงขนเป็นประจำ ถึงแม้จะไม่อาบน้ำก็ตาม ทาสก็ต้องหมั่นแปรงขนให้น้อง เพื่อกำจัดขนที่หลุดร่วงออกไปให้ได้มากที่สุด

และท้ายที่สุด คือ การเลือกอาหารแมวที่มีกากใยอาหารสูง เพื่อช่วยขับก้อนขนไม่ให้อุดตันในทางเดินอาหาร อย่าง Buzz Advanced Nutrition อาหารแมวที่ตอบสนองความต้องการทางด้านสุขภาพ ด้วยสารอาหารครบถ้วนตามที่แมวต้องการ พร้อมทั้งมีเส้นใยเซลลูโลสพลัส ช่วยให้เส้นขนผ่านทางเดินอาหารได้ดีขึ้น จึงหมดกังวลว่าจะเกิดปัญหาก้อนขนอุดตันมากวนใจเจ้าเหมียวของคุณ

เชื้อราแมว โรคผิวหนังที่ติดต่อสู่คนได้

เชื้อราแมว โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นได้กับเจ้าเหมียว และสามารถติดต่อสู่คนได้ ทาสแมวจึงต้องดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้กับเจ้าเหมียวของคุณ

 

เชื้อราแมว เกิดขึ้นได้อย่างไร

เชื้อราแมว เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่พบได้ในสัตว์เลี้ยงมีขนอย่าง แมว สุนัข กระต่าย เป็นต้น ซึ่งมักพบในแมว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแมวขนยาวมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น ซึ่งเกิดจากเชื้อราที่ชอบความชื้น ไม่ว่าจะเป็น Microsporum canis, Microsporum gypseum หรือ Trichophyton mentagrophyte ล้วนเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคบนผิวหนัง ที่จะพบได้ในเจ้าเหมียวอายุน้อย ป่วยหรือมีโรคประจำตัว และอายุมากทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เชื้อราพวกนี้จึงจู่โจมได้ง่าย 

 

อาการของโรค เชื้อราแมว

อาการของโรคสังเกตุง่าย ๆ บริเวณผิวหนังของแมวจะแห้ง มีผื่นแดง ผิวหนังลอกเป็นขุย เป็นวง ๆ และมีขนร่วงเป็นหย่อม ๆ โดยแมวจะมีอาการคันร่วมด้วย หากทาสไม่ได้สังเกตอาการผิดปกติดังกล่าว แล้วไปสัมผัส กอด อุ้ม ลูบ หอมเจ้าเหมียว ทาสอย่างเราก็มีโอกาสที่จะติดโรคเชื้อราแมวได้เช่นกัน.

 

เชื้อราแมว

 

เชื้อราแมว ติดสู่คนได้

โดยอาการของคนที่ติดเชื้อราแมว จะมีผื่นแดงขึ้นเป็นวง ตามบริเวณที่ได้สัมผัสกับแมว เช่น มือ แขน ใบหน้า เป็นต้น โดยมักจะมีอาการคันร่วมด้วย หากมีอาการในลักษณะนี้ ทาสแมวควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยการรักษามีทั้งการใช้ยาทาและยากินฆ่าเชื้อรา

 

การรักษา และป้องกันเชื้อราแมว

ส่วนเจ้าเหมียวที่ป่วยด้วยโรคเชื้อราแมว ทาสควรรีบพาน้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็ว และต้องป้องกันไม่ให้เจ้าเหมียวป่วยอีก ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • พาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อราแมว และตรวจสุขภาพเป็นประจำ
  • อาบน้ำให้เจ้าเหมียวอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ด้วยแชมพูที่ช่วยฆ่าเชื้อรา และเป่าขนให้แห้งสนิททุกครั้ง
  • ทำความสะอาดบริเวณที่แมวอยู่ให้สะอาด ไม่อับชื้น โดยคุณสามารถฆ่าสปอร์ของเชื้อราแมวที่หลุดร่วง ซึ่งอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ด้วยสารฟอกขาวละลายน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 10
  • ทาสต้องไม่คลุกคลีกับเจ้าเหมียวมากเกินไป และอย่าลืมล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้อง

 

และท้ายที่สุด เสริมสร้างสุขภาพที่ดีจากภายใน เพื่อภูมิต้านทานร่างกายที่แข็งแรงให้เจ้าเหมียวที่คุณรักห่างไกลจากโรคเชื้อราแมว ด้วย Buzz Advanced Nutrition สูตรบำรุงเส้นขนและผิวหนัง อาหารแมวที่ประกอบด้วยวิตามิน และสารอาหารจำเป็นครบถ้วน พร้อมเสริมด้วยคอลลาเจน ที่ช่วยให้เจ้าเหมียวมีสุขภาพผิวหนังที่ดี และขนที่เงางาม