- อายุขัย เมื่อสุนัขอายุมาก ประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหาร และขับถ่ายจะต่ำลง ทำให้ถ่ายยากและมักมีภาวะท้องผูกได้ง่าย
- อาหาร ส่งผลโดยตรงต่อการขับถ่ายของสุนัข หากกินอาหารที่ไม่เหมาะกับสภาพลำไส้ อาจทำให้ท้องเสีย หรืออาหารที่ย่อยยาก ก็จะทำให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายออกมาได้หมด จึงอุดตันที่ลำไส้ได้
- การกินน้ำ สุนัขที่กินน้ำน้อย อุจจาระจะแข็ง ทำให้ถ่ายยาก
- ความเครียด ส่งผลต่อการถ่ายอุจจาระของสุนัข เช่น สุนัขที่มีภาวะความเครียดเนื่องจากการเปลี่ยนที่อยู่ มักจะไม่ยอมขับถ่าย
- โรคภัยไข้เจ็บ สุนัขที่มีอาการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และขับถ่าย เช่น โรคลำไส้อักเสบ จะทำให้สุนัขขับถ่ายลำบาก จนไม่อยากถ่าย
- ลักษณะอุจจาระสุนัขจับตัวกันเป็นก้อน ไม่แข็ง หรือเหลวเป็นน้ำ
- มีสีน้ำตาลเหลือง หรือน้ำตาลปนเขียว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่สุนัขกินเข้าไป
- ไม่มีสิ่งแปลกปลอมปะปนออกมากับอุจจาระ
- แสดงว่าสุนัขมีสุขภาพร่างกายและระบบขับถ่ายที่ดี
- ลักษณะอุจจาระเป็นก้อนใหญ่ เหนียวคล้ายดินน้ำมัน
- มีสีเข้ม หรือดำ
- แสดงว่าระบบย่อยอาหารอาจมีความผิดปกติ หรืออาจมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
- ลักษณะอุจจาระเหลว แต่ยังไม่เป็นน้ำ มีมูกปน และส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง
- แสดงว่าสุนัขอาจมีอาการท้องร่วง หรืออาจติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อบิด
- ลักษณะอุจจาระเหลวเป็นน้ำ ไม่เป็นรูปร่าง
- แสดงว่าสุนัขอาจมีอาการอักเสบที่กระเพาะอาหาร และลำไส้ โดยมักมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
- ลักษณะอุจจาระเหลว เป็นไข
- มีสีเทา
- มีเศษอาหารที่ยังไม่ย่อยปะปนออกมา
- แสดงว่าสุนัขอาจมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน หรือถุงน้ำดี และอาจมีอาการท้องผูกด้วย
- มีพยาธิตัวแบนหรือตัวกลมปะปนอยู่ในอุจจาระสุนัข
- แสดงว่าสุนัขของคุณกำลังติดพยาธิ
- อุจจาระสุนัขมีสีแดงปนออกมา
- แสดงว่าอาจมีการอักเสบและเป็นแผลบริเวณทางเดินอาหารส่วนท้าย ได้แก่ ลำไส้ใหญ่ ล่ามไปถึงทวารหนัก หรือบริเวณก้น อาจมีต้นเหตุมาจากการกินอะไรบางอย่างเข้าไป เช่น กระดูกไก่ ไม้แหลม เป็นต้น
- ลักษณะอุจจาระเป็นเม็ด ก้อนเล็ก ๆ
- แสดงว่าสุนัขกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับไต ซึ่งมักพบในสุนัขอายุมาก
- ลักษณะอุจจาระเหลวคล้ายโคลน
- มีสีเหลือง
- แสดงว่าสุนัขอาจมีปัญหาเกี่ยวกับโรคตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน
- อาจมีเศษหญ้าปะปนออกมาด้วย
- มีสีเขียว
- แสดงว่าสุนัขอาจกินหญ้ามากเกินไป หรืออาจประสบกับปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดีอยู่