เห็บหมัด ตัวจิ๋วที่ร้ายไม่ใช่เล่น นอกจากจะทำให้เจ้าตูบคันคะเยอแล้ว มันยังนำพามาซึ่งโรคร้ายที่อาจเป็นภัยถึงชีวิตสุนัขของคุณ ดังนั้นเจ้าของอย่างเราจึงต้องหาทางป้องกันให้ถูกวิธี เห็บหมัด มาจากไหน ? เห็บหมัด ผู้ร้ายสองตัวจิ๋วนี้มาอยู่บนตัวสุนัขได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ เริ่มที่ หมัด นักวิ่งและนักกระโดดมือทอง ที่มักอาศัยอยู่บนตัวสุนัขโดยการกระโดดจากพื้นดิน พื้นหญ้า หรือสุนัขตัวอื่น แล้วมาผสมพันธุ์ออกลูกออกหลานอยู่บนตัวสุนัขของคุณ ส่วน เห็บ ตัวอ้วนกลม มีวงจรชีวิตแบ่งเป็น 4 ช่วง โดยตัวเมียจะวางไข่จำนวนมากถึง 2,000 - 4,000 ใบ / ครั้ง ตามมุมอับต่าง ๆ เช่น รอยแตกของปูน พื้นบ้าน สนามหญ้า เป็นต้น หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์ ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน มี 6 ขา มันจะพยายามกลับมาอาศัยอยู่บนตัวสุนัขเพื่อดูดเลือด หลังจากนั้น 2 - 3 วัน มันจะลอกคราบเป็นตัวกลางวัยมี 8 ขา และดูดเลือดสุนัขต่อ เพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยแล้วสืบพันธุ์ต่อไป  เห็บหมัดจะพบมากในช่วงเดือนเมษายน - สิงหาคม ซึ่งเป็นฤดูร้อนต่อด้วยฤดูฝน มีสภาพอากาศร้อนชื้น เอื้อต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธ์ุเป็นอย่างมาก และด้วยลักษณะที่มาของเห็บหมัด จึงไม่แปลกที่สุนัขจะมีเห็บหมัดมาอาศัยอยู่บนตัวได้อย่างง่ายดาย หากเจ้าของไม่ดูแลป้องกัน เห็บหมัด อันตรายจาก เห็บหมัด ที่ควรรู้ เห็บหมัดที่อาศัยอยู่บนตัวสุนัข นอกจากจะสร้างความรำคาญและอาการคันให้สุนัขแล้ว สองตัวจิ๋วยังนำพาโรคร้ายมากมายมาเยือนเจ้าตูบอีกด้วย โรคที่พบเจอได่บ่อยมีดังนี้ 
  • โรคภูมิแพ้น้ำลายเห็บหมัด จะมีอาการคัน ผิวหนังแดง อักเสบ และขนร่วง มักพบบริเวณแนวสันหลัง หรือบริเวณที่เห็บหมัดอาศัยอยู่เยอะ ซึ่งโรคนี้จะนำไปสู่โรคผิวหนังอักเสบรุนแรงได้
  • โรคโลหิตจาง เพราะเห็บหมัดจำนวนมากดูดเลือดสุนัข
  • โรคพยาธิเม็ดเลือด เป็นอีกหนึ่งโรคอันตราย มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิ แต่ล้วนมีพาหะมาจากเห็บหมัดทั้งสิ้น โดยสุนัขมักมีอาการเบื่ออาหาร ไข้สูง เหงือกซีด เกล็ดเลือดต่ำ ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก เป็นต้น 
  • พาหะพยาธิ หมัดเป็นพาหะพยาธิตัวตืด ซึ่งจะมาอาศัยอยู่ที่ลำไส้ของสุนัข ทำให้อุจจาระเหลว ภาวะท้องมาน น้ำหนักลด และอาจมีอาการคันที่ก้น
รู้วิธีรับมือ เห็บหมัด ภัยร้ายตัวจิ๋ว เห็นถึงอันตรายของเห็บหมัดอย่างนี้ คงต้องรีบหาวิธีกำจัดและป้องกันเห็บหมัดกันแล้วใช่ไหมล่ะ ซึ่งเราก็มีวิธีรับมือปัญหานี้มานำเสนอดังนี้ 
  • การกำจัดและป้องกันเห็บหมัดมีหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับสัตวแพทย์ ความสะดวกของเจ้าของ และปริมาณเห็บหมัดในตัวสุนัข โดยวิธีที่นิยมมีทั้งการฉีดยา ให้ยากิน หยดยาหลังคอ ปลอกคอ และการใช้สเปรย์หรือแป้งกำจัดเห็บหมัด โดยแต่ละวิธีจำเป็นต้องทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
  • หากสุนัขมีความผิดปกติ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย เพื่อให้สามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
  • จำกัดพื้นที่ หรือทุกครั้งที่พาสุนัขออกนอกบ้าน คุณอาจจะต้องพ่นสเปรย์ป้องกัน เพื่อลดโอกาสที่เห็บหมัดจะเกาะติดตัวสุนัขมา
  • อาบน้ำสุนัขเป็นประจำ อย่างน้อย 1 - 2 ครั้ง / เดือน โดยใช้น้ำยาหรือแชมพูที่ช่วยกำจัดเห็บหมัด
  • ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยของสุนัขเป็นประจำ โดยใช้น้ำยาที่สามารถกำจัดเห็บหมัดได้
ด้วยวิธีเหล่านี้ เห็บหมัด ตัวจ่อยจะไม่กล้ามาเกาะเจ้าตูบของคุณอย่างแน่นอน เห็บหมัด เป็นหนึ่งปัญหาสุขภาพที่เจ้าของต้องดูแล แต่เพื่อให้ร่างกายของสุนัขสมบูรณ์แข็งแรง การดูแลสุขภาพจากภายในก็เป็นสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ ด้วยการเลือกอาหารสุนัขที่ดี มีสารอาหารครบถ้วน อย่าง Buzz Healthy Life ที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และป้องกันการเกิดโรค เพื่อให้เจ้าตูบของคุณแข็งแรง ร่าเริง พร้อมเติบโตอย่างสมวัย