
- โรคภูมิแพ้น้ำลายเห็บหมัด จะมีอาการคัน ผิวหนังแดง อักเสบ และขนร่วง มักพบบริเวณแนวสันหลัง หรือบริเวณที่เห็บหมัดอาศัยอยู่เยอะ ซึ่งโรคนี้จะนำไปสู่โรคผิวหนังอักเสบรุนแรงได้
- โรคโลหิตจาง เพราะเห็บหมัดจำนวนมากดูดเลือดสุนัข
- โรคพยาธิเม็ดเลือด เป็นอีกหนึ่งโรคอันตราย มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิ แต่ล้วนมีพาหะมาจากเห็บหมัดทั้งสิ้น โดยสุนัขมักมีอาการเบื่ออาหาร ไข้สูง เหงือกซีด เกล็ดเลือดต่ำ ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก เป็นต้น
- พาหะพยาธิ หมัดเป็นพาหะพยาธิตัวตืด ซึ่งจะมาอาศัยอยู่ที่ลำไส้ของสุนัข ทำให้อุจจาระเหลว ภาวะท้องมาน น้ำหนักลด และอาจมีอาการคันที่ก้น
- การกำจัดและป้องกันเห็บหมัดมีหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับสัตวแพทย์ ความสะดวกของเจ้าของ และปริมาณเห็บหมัดในตัวสุนัข โดยวิธีที่นิยมมีทั้งการฉีดยา ให้ยากิน หยดยาหลังคอ ปลอกคอ และการใช้สเปรย์หรือแป้งกำจัดเห็บหมัด โดยแต่ละวิธีจำเป็นต้องทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
- หากสุนัขมีความผิดปกติ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย เพื่อให้สามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
- จำกัดพื้นที่ หรือทุกครั้งที่พาสุนัขออกนอกบ้าน คุณอาจจะต้องพ่นสเปรย์ป้องกัน เพื่อลดโอกาสที่เห็บหมัดจะเกาะติดตัวสุนัขมา
- อาบน้ำสุนัขเป็นประจำ อย่างน้อย 1 - 2 ครั้ง / เดือน โดยใช้น้ำยาหรือแชมพูที่ช่วยกำจัดเห็บหมัด
- ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยของสุนัขเป็นประจำ โดยใช้น้ำยาที่สามารถกำจัดเห็บหมัดได้